การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปราสาทหมื่นชัย”
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ปราสาทหมื่นชัย, จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
จุดประสงค์ของบทความนี้เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ปราสาทหมื่นชัย” ซึ่งปราสาทหมื่นชัยเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ชุมชนมีความเชื่อที่มีต่อเทพเจ้าและอำนาจเหนือธรรมชาติ ดังนั้น ชุมชนแถบนี้จึงมีกิจกรรมพิธีบูชาประจำปีจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ได้มีรูปแบบกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดพื้นที่จัดกิจกรรม และวัน เวลา 2) ผู้เข้าร่วมในพิธีกรรม 3) เครื่องบูชาและดนตรี เป็นต้น แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้แนวทางการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น มีดังนี้ 1) เส้นทางการเข้าถึงปราสาทหมื่นชัยที่เข้าออกสะดวก 2) เอกสารมีส่วนสำคัญต่อการศึกษาและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในรูปแบบสื่อออนไลน์ บอกถึงความสำคัญของปราสาท 3) ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมศิลปะการแสดงที่มีฐานคติมาจากความเชื่อ ศาสนาพรามหณ์ ฮินดู และ ประวัติศาสตร์และฐานคติของชุมชน 4) โรงเรียนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแสดงและนำศิลปะการร่ายรำไปพัฒนาต่อยอด กระตุ้นให้โรงเรียนตามชุมชนได้ช่วยกันส่งเสริมและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน จัดให้พื้นที่เป็นที่เรียนรู้นอกชั้นเรียน 5) มีการเล่าถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ความเชื่อชุมชนที่มีพื้นที่ช่วงที่มีกิจกรรมการแสดงและงานประเพณีประจำปี เพื่อสร้างจุดน่าสนใจและเป็นความสำคัญต่อการส่งเสริมและสร้างความสำคัญเพื่อให้รับรู้และเห็นความสำคัญร่วมกัน 6) ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อองค์กรโดยใช้สื่อสังคมให้ประสิทธิภาพ
References
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2562, จาก : http://tourism-dan1.blogspot.com.
ดับเบิ้ลยูพี. (2563). อัพเดท ‘พฤติกรรมคนไทย’ เปลี่ยนไปจากผลกระทบ COVID - 19 กับแนวทางปรับตัว ‘7 กลุ่มธุรกิจใหญ่’ ของไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จาก : https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/thai-consumer-behaviour-changed-in-covid-19-situation-and-business-guideline-for-7-industry-in-thailand/
นาฏวดี เจือจันทร์, สุนันทา เลาวัณย์ศิริ, วีระพล ทองมา. (2555). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ: กรณีศึกษา ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(22), 97 - 108.
ประภาภรณ์ รัตโน และหยกขาว สมหวัง. (2560). อุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมและการสื่อสารในยุคดิจิทัล กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการสร้างวัฒนธรรมไทยในจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 121 - 136.
พระปลัดสุดฤทธิ์ ธนสาโร และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). ศาสนากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมเส้นทางแสวงบุญสู่วัดไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 79 - 92.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). “ระเบี๊ยบเกรืองเซน” องค์ประกอบขั้นตอนของพิธีกรรม กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรตามความเชื่อในพิธีกรรมโจ็ลมะม๊วต. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 131 - 142.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). การศึกษาจุดยุทธศาสตร์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการพัฒนาระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 53 - 66.
ยโสธารา ศิริภาประภากร และสุริยา คลังฤทธิ์. (2562). รายงานผลการศึกษากิจกรรมพิธีบูชาประจำปีปราสาทหมื่นชัย จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร. 42 หนา.
ยโสธารา ศิริภาประภากร และสำเริง อินทยุง. (2561). อัตลักษณ์ของปราสาทขอมกับการพัฒนาชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 9, 29 – 31 สิงหาคม 2561. 452 – 461. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
ศิริพร สุเมธารัตน์. (2535). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 496 หน้า.
สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, ฉัตราภรณ์ จันทร์แจ่มธารี. (2562). การจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มชาวกูย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 3(1), 52 – 58.
สุริยา คลังฤทธิ์, ยโสธารา ศิริภาประภากร, ภัสสร มิ่งไธสง. (2561). แซนพนม : ภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ระหว่างคน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งแวดล้อม กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง. วารสารวิจัยสังคม, 41(2), 177 - 194.
อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 231 หน้า.
Flew, T. and Kirkwood, K. (2021). The Impact of COVID - 19 on Cultural Tourism : Art, Culture and Communication in Four Regional Sites of Queensland, Australia. Media International Australia, 178(1), 16 – 20.
บุคลานุกรม
ศิลปินแห่งชาติ. (ผู้ให้สัมภาษณ์). ยโสธารา ศิริภาประภากร (ผู้สัมภาษณ์). ที่ ปราสาทหมื่นชัย ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562.