การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลม่อนเฟรชฟาร์ม 101 บ้านดอนหาด ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อัจฉราภรณ์ จุฑาผาด อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อินทร์ อินอุ่นโชติ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการค้าปลีก คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การบรรจุภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและจุดเด่น - ข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้ชุมชน  กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลม่อนเฟรชฟาร์ม 101 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัย 1) จากการศึกษารูปแบบการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ การทำนา หลังจากเสร็จจากการทำนา มีอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ คือ การปลูกเลม่อน การปลูกพืชผักสวนครัว แปรรูปผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน จุดเด่น คือ การปลูกวัตถุดิบเอง ทำให้ลดต้นทุนในการซื้อ วัตถุดิบปลอดสารพิษ และเป็นเจ้าแรกในจังหวัดร้อยเอ็ดที่ปลูกเลม่อนแปรรูป ข้อจำกัด คือ ผลิตภัณฑ์บางประเภทยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน รูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนยังไม่มีรูปแบบเฉพาะตัว และยังไม่มีความแตกต่าง ขาดทักษะการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 2) ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งประเมินผลการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ พบว่า ความพึงพอใจในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา. (2558). แนวทางการจัดการที่มีคุณภาพ ของวิสาหกิจชุมชน เพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์ด้านการอยู่ดีมีสุข ใน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 2039 - 2053.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชูทอง, สุธาทิพย์ ทั่วจบ. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารแปรรูป กลุ่มวิสาหกิจข้าวเตาปูน จังหวัดราชบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 24 – 34.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2559). รายงานผลการดาเนินงานโครงการฝึกอบรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเห็ดและบัญชีครัวเรือน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฐานทรัพย์ อำเภอท่าม่วง จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก : https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf.

สุนิสา ละวรรณวงษ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 1912 – 1211.

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน และขจรศักดิ์ วงศ์วิราช (2557). การบริหารจัดการสินค้า OTOP แบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการให้เข้าสู่ระดับ 4 ถึง 5 ดาว : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กุนเชียงเล่าฮั้วกี่. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 26 – 37.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd edition). Englewood Cliffs : Prentice - Hall.

บุคลานุกรม

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลม่อนเฟรชฟาร์ม 101. (ผู้ให้สัมภาษณ์). อัจฉราภรณ์ จุฑาผาด (ผู้สัมภาษณ์). ที่ บ้านดอนหาด ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45120. เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-27