แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • พิรพิมพ์ ทั่งพรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • ศุภวัตร มีพร้อม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโรงแรมและอีเวนท์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, กิจกรรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ชุมชนเลี้ยงช้างบ้านค่าย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง  ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวชุมชนเลี้ยงช้าง 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระดับความต้องการรูปแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการใช้บริการ ทั้งหมด 385 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ต้องการให้มีกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และนักท่องเที่ยวชอบที่จะมีประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบการสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนท้องถิ่นอย่างแท้จริง จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 54.81 จากทั้งหมด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการต้องการรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่ชุมชนเลี้ยงช้าง ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านประสบการณ์กิจกรรมด้านความบันเทิง (gif.latex?\bar{x} = 2.93, S.D.= 0.84) และปัจจัยด้านคุณค่าทางด้านเงื่อนไข ( gif.latex?\bar{x}= 2.86, S.D.= 0.83) และชุมชนมีศักยภาพบริบทพื้นที่ที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก มีความดั้งเดิมในภูมิปัญญาและวิถีชีวิต ทั้งนี้ ชุมชนยังได้รับการสนับสนุนจากทั้งทางหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมและผลักดันให้ชุมชนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสอบถามความต้องการกิจกรรมทางการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังพื้นที่ชุมชนมีความสอดคล้องกันกับความต้องการของทางผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จึงเกิดเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว 3 แนวทาง ดังนี้  1) การอนุรักษ์โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี 2) รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม 3) นำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 - 2562 จังหวัดชัยภูมิ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563, จาก : https://www.mots.go.th/more_news_ new.php?cid=618.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). มาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Sustainable Tourism Management Standard [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563, จาก : https://tis.dasta.or.th/dastaknowledge/wp-content/uploads/2018/07/Sustainable-Tourism-Management-Standard_th_100561_2.pdf.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี 2561 – 2564 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก : http://www.bankhai.net/attachments/article/10/แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2564.pdf.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่าย. (2560). ประวัติความเป็นมาบ้านค่ายหมื่นแผ้ว [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก : http://www.bankhai.net/data.

Amir, A. F., Ghapar, A. A., Jamal, S. A., Ahmad, K. N. (2015). Sustainable Tourism Development : A Study on Community Resilience for RuralTourism in Malaysia. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 168(2015), 116 - 122.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons.

Eber, S. (1992). Beyond the Green Horizon : Principles for Sustainable Tourism. United Kingdom : WWF UK.

Pine II, B. J. and Gilmore, J. H. (1998). Welcome to the Experience Economy. Harvard Business Review, 76(4), 97 - 105.

Rahmawati, D., Supriharjo, R., Setiawan, R. P., Pradinie, K. (2014). Community Participation in Heritage Tourism for Gresik Resilience. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 135(2014), 142 – 146.

Sweeney, J. C. and Soutar, G. N. (2001). Consumer perceived value: The development of a multiple item scale. Journal of Retailing, 77(2), 203 - 220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16