รูปแบบการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเชิงบูรณาการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านในเขตจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเชิงบูรณาการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านในเขตจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) การคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนนำร่อง โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 กลุ่ม ผลการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านในจังหวัดสุรินทร์ ทำให้เกิดเครือข่ายชื่อ “เครือข่ายไหมสุรินทร์สามเผ่า” ซึ่งรูปแบบการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเชิงบูรณาการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านในเขตจังหวัดสุรินทร์ มี 3 องค์ประกอบดังนี้ 1) กลุ่มเครือข่ายไหมสุรินทร์สามเผ่า ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนากลุ่มเครือข่ายไหมสุรินทร์สามเผ่าให้มีความเข้มแข็ง ได้แก่ การประสานงาน การสนับสนุนส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพึ่งตนเองและกันเอง 2) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ 3) ภาคีผ้าไหมสุรินทร์ ได้แsก่ กลุ่มต้นน้ำ (เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม) กลุ่มกลางน้ำ (กลุ่มผู้ทอผ้าไหม) และกลุ่มปลายน้ำ (กลุ่มผู้จำหน่ายไหม)
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ : สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2564) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2562 [ออนไลน์]. คนเมื่อ 11 ธันวาคม 2562, จาก : http:// www.osmnortheast-s1.moi.go.th/file/plan_develop/1517973791.pdf.
เจณิภา คงอิ่ม. (2561). การดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 156 - 170.
ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ และนฤมล อนุสนธิ์พัทธ์. (2563). ศักยภาพและความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 133 - 144.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), 177 - 191.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย. (2561). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(46), 101 - 111.
แน่งน้อย ย่านวารี. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ [ออนไลน์]. คนเมื่อ 18 สิงหาคม 2560, จาก : http://ismbas.blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html.
ปณิตา แจ้ดนาลาว และธรินี มณีศรี. (2563). รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 133 - 145.
ภรณี หลาวทอง. (2558). การพัฒนาเครือข่ายภายใต้บริบทของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 11(2), 126 - 138.
วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน : ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 9(1), 103 - 126.
สมเกียรติ สุทธินรากร, ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 270 - 283.
สุภาพร มากแจ้ง และพรศิริ กองนวล. (2550). การวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน : การศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1(2), 65 - 78.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 [ออนไลน์]. คนเมื่อ 18 สิงหาคม 2560, จาก : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA69/%CA69-20-2548-a0001.htm.
Adelman, C. (1993). Kurt Lewin and the Origins of Action Research. Educational Action Research, 1(1) : 7 - 24.
Ariño, A. and Torre, J. D. L. (1998). Learning from Failure : Towards an Evolutionary Model of Collaborative Ventures. Organization Science, 9(3), 306 - 325.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook Making Better Decisions Through Citizen Involvement. San Francisco : Jossey Bass.
Edwards, T., Delbridge, R., Munday, M. (2005). Understanding Innovation in Small and Medium-Sized Enterprises : a Process Manifest. Technovation, 25(10), 1119 - 1127.
Johannisson, B. (1996). The Dynamics of Entrepreneurial Networks [Online]. Retrieved March 13th, 2020, Available : http://fusionmx.babson.edu/entrep/fer/papers96/johannis/johannis.htm.
Meyer, B. and Sugiyama, K. (2007). The Concept of Knowledge in KM : A Dimensional Model. Journal of Knowledge Management, 11(1), 17 - 35.
Naudé, P., Zaefarian, G., Najafi Tavani, Z., Neghabi, S., Zaefarian, R. (2014). The Influence of Network Effects on SME Performance. Industrial Marketing Management, 43(4), 630 - 641.
Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations [Online]. Retrieved March 13th, 2020, Available : https://hbr.org/1990/03/the-competitive-advantage-of-nations.
Ring, P. S., Van de Ven, A. H., Milosevic, D. (1994). Developmental Processes of Cooperative Interorganizational Relationships. The Academy of Management Review, 19(1), 90 - 118.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline : The Art & Practice of the Learning Organization. New York : Currency Doubleday.
Teerakul, N.,Villano, R. A., Wood, F., Mounter, S. (2010). A Framework for Assessing Impacts of Community-Based Enterprises on Poverty Reduction : a Case Study in Northern Thailand. In the Australian Agricultural and Resource Economics Society (AARES) 54th National Conference. February 10th -12th, 2010. 1 - 23. Australia : University of New England.
Wasko, M. M., and Faraj, S. (2000). "It is what one does": Why People Participate and Help Others in Electronic Communities of Practice. Journal of Strategic Information Systems, 9(2000), 155 - 173.