ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บัณฑิต, คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะบัณฑิตของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นบุคลากรในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ทำงานอยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 60  คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยผู้เชี่ยวชาญและนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC)มีค่าดัชนีค่าความเชื่อมั่นในระดับ 0.95 ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 51 ปี โดยมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ผู้ใช้บัณฑิตเพศชาย และเพศหญิง มีความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และด้านบุคลิกภาพ และผู้ใช้บัณฑิตที่อยู่ในหน่วยงาน/องค์กรต่างประเภทกัน มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ไม่แตกต่างกัน

References

กาญจนา สุคณธสิริกุล และคณะ.(2547). ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล).

กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการจำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

กมลทิพย์ อาจหาญ และคณะ.(2553).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์. (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

กฤตยา ฐานุวรภัทร์. (2555). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับสถานประกอบการ : กรณีศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารคณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่. (มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่).

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2548). บทคัดย่อชุดโครงการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี. สำนักวิจัยและบริการวิชาการ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม. (2556). บทคัดย่อชุดโครงการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา : วิทยาเขตมหาสารคามที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2554. สำนักวิจัยและบริการวิชาการ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จำเนียร จวงตระกูล.(2542). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์กฎหมาย

ธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

ชัยยุทธ เลิศพาชิน และอัจฉรา เมฆสุวรรณ.(2555). การสำรวจคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการผู้ใช้มหาบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.(มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).

ทัศนา แสวงศักดิ์.(2531). การศึกษาทำให้คนทำงานได้หรือไม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภา.

นภารัตน์ เสือจงพรู.(2544). ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวกความรู้สึกทางลบและความสุขที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน. กรุงเทพฯ: เฮาส์ออฟเคอร์มิสท์.

พิเชษฐ์ พรหมผุย. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมารุ่น2551รุ่นปีการศึกษา 2551. (มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล)

พรนพ พุกกะพันธ์.(2546). จริยธรรมธุรกิจ ยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

มะลิวัลย์ ยุติธรรม.(2541). ความต้องการบุคลากรทางด้านสาธารณสุขของเทศบาลและกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.(ม.ป.ท.)

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). ความพึงพอใจ.ในพจนานุกรมฉบับราชบัฌฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (หน้า 775). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.

วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ที่ไม่เหมือนกัน.กรุงเทพฯ: บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์ จำกัด.

สนธยา เขมวิรัตน์.(2548). คุณลักษณะของบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : กรุงเทพมหานคร.

สมชาติ กิจยรรยง.(2548). พัฒนาคน พัฒนางาน การบริหารบุคคลสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

Hornby, A. F. (2000). Advance learner's dictionary. (6th ed.). London, England: Oxford University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29