คุณลักษณะนักบัญชีตามบริบทในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ของนักศึกษาสาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา หอมคำ อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะนักบัญชี, นักศึกษาสาขาการบัญชี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ  ศึกษาคุณลักษณะนักบัญชีตามบริบทในยุคโลกาภิวัตน์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และเปรียบเทียบคุณลักษณะนักบัญชีตามบริบทในยุคโลกาภิวัตน์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำแนกตามระดับความสามารถสูง และปานกลาง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 272 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะนักบัญชีตามบริบทในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ของนักศึกษาสาขาการบัญชี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักบัญชีแบ่งออกเป็น 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.71 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะทักษะทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านคุณลักษณะทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่การงาน ผลการวิจัยดังกล่าว สามารถนำมาพัฒนาปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีคุณลักษณะนักบัญชีตามบริบทในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ของนักศึกษาสาขาการบัญชี

References

กรรณิการ์ ลำลือ. (2553). คุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2555

ไฉไล พงศ์อุดมกุล. (2551). การจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยามหาสารคาม.

ปาลวี เชาว์พานิช และอนุชา พุฒิกูลสาคร. (2554). คุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิยาเขต กาฬสินธุ์.

พยอม สิงห์เสน่ห์. (2544). การสอบบัญชี. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์.

ไพโรจน์ เกตุภักดีกูล. (2551). ความต้องการเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถาน ประกอบการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม.

ศศิวิมล มีอำพล. (2547). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพฯ : อินโฟไมนิ่ง

สภาวิชาชีพ. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2547.

สภาวิชาชีพ. (2548). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 3 เรื่องทักษะทางวิชาชีพ.

สรศักดิ์ ธนันไชย. (2551). การวัดทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีในเขตนิคมอุตสาหกรรม. ภาคเหนือจังหวัดลำพูน.

สุชาดา กีระนั้นท์ (2541). นักบัญชีในยุค 2000. กรุงเทพฯ : เนชั่น.

สุพัตรา เนื่องวัง. คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ ของบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด(มหาชน) จังหวัดตาก.บทความวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุภาพร พิศาลบุตร. (2545). จริยธรรมทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง.

โสภาพรรณ ไชพัฒน์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต.

สันสกฤต วิจิตรเลขการ. (2549). International Standards (IES) กับวิชาชีพบัญชีในประเทศ. จุลสารสมาคมบัญชีไทย 3 (1)

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29