มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในทางเศรษฐกิจ
คำสำคัญ:
การจัดหารายได้ของมหาวิทยาลัยบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในทางเศรษฐกิจและแนวทางการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยโดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายต่างๆจากหนังสือ บทความ เอกสาร วารสาร ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตและสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาแนวทางการจัดหารายได้ของมหาวิทยาลัยโดยรวบรวมให้เป็นระบบเพื่อนำมาสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่อไป จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการจัดหาผลประโยชน์จากที่ราชพัสดุและที่ดินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่สำคัญมีอยู่ 4 กรณีได้แก่ (1)ความไม่แน่ชัดในเรื่องอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการเรื่องต่างๆที่มีลักษณะเป็นการจัดหารายได้ (2) การไม่มีรูปแบบและแนวทางการจัดหาผลประโยชน์(3)การไม่มีองค์กรควบคุมภายนอกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(4) การขาดแคลนบุคลากรที่รับผิดชอบการจัดหาประโยชน์ จากปัญหาและอุปสรรคดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการจัดหาผลประโยชน์จากที่ราชพัสดุและที่ดินของมหาวิทยาลัยไว้สองแนวทางได้แก่ (1) ให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะแยกมาจากส่วนราชการมหาวิทยาลัย (2) การว่าจ้างบริษัทหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดหาผลประโยชน์จากที่ราชพัสดุและที่ดินของมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะเข้ามาทำงานแทนหน่วยงานของมหาวิทยาลัยให้ทั้งหมดหรืออาจจะเป็นแค่เพียงในบางส่วน
References
จินตนา ชัยยวรรณาการและคณะ. (2543). การปรับเปลี่ยนส่วนราชการเป็นองค์การมหาชน : ศึกษา กรณีโรงพยาบาลบ้านแพ้ว. รายงานการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2529). แผนพัฒนาการศึกษากับการพึ่งตนเอง ในผลกระทบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อพึ่งตนเอง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชะนีนาถ สิงหเรศน์. (2535). รูปแบบการหารายได้เพื่อการพึ่งตนเองของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hardles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธีระฟิล์มและไซแทกซ์จำกัด.
ผุสดี พลสารัมย์. (2544). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยไทยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์วารสาร ปีที่ 11 ฉบับที่ 44 กรกฎาคม-กันยายน 2544.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์บทบาทเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 15 หน่วยงานรัฐ ตามพระราชบัญญัติเฉพาะ”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพมหานคร.
พรทิพย์ ดีสมโชค. (2537). แนวความคิดและพัฒนาการเกี่ยวกับความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยไทย : การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,:ม.ป.ท.
ไพศาล เผือกพูลผล, (2545) การปฏิรูประบบราชการไทย : ทิศทาง ความก้าวหน้าและข้อจำกัด /. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,:ม.ป.ท.
วรากรณ์ สามโภเศศ. (2528). การพึ่งตนเองของระบบมหาวิทยาลัยของรัฐ. รายงานการประชุมทางวิชาการประจำปีของที่ประชุมอธิการบดีเรื่องการพึ่งตนเองของระบบมหาวิทยาลัยของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2528). การระดมทุนและการพัฒนากองทุนของสถาบันอุดมศึกษา. รายงานการประชุมทางวิชาการประจำปีของที่ประชุมอธิการบดีเรื่องการพึ่งตนเองของระบบมหาวิทยาลัยของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2529). แนวคิดในการพึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจ. การวิจัยเพื่อการพึ่งตนเอง: การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบท. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วิวัฒน์ชัย อัตถากร. (2529). ผลกระทบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อการจัดการศึกษาไทย. ผลกระทบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการพึ่งตนเอง.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไวกูณฐ์ ครองยุทธ. (2544). รายงานการวิจัยเรื่อง “การจัดองค์กรเพื่อแสวงหารายได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี”. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
สรรชนา ค้ำชู. (2545). การบริหารงบประมาณองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่:กรณีศึกษาการหารายได้. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2534). ความเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมกับเอกชนรุ่น 4.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2542) .การจัดองค์กรเพื่อหารายได้ของมหาวิทยาลัยไทย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารนิติศาสตร์. ปี 27 ฉบับที่ 4.
สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์. (2533). วิวัฒนาการกฎหมายมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2535). “สองทศวรรษทบวงมหาวิทยาลัย (หนังสือที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนาทบวงมหาวิทยาลัยครบ ๒๐ ปี)”. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). “อำนาจอิสระของการบริหารมหาวิทยาลัยไทย”. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา. (2546). “สามทศวรรษทบวงมหาวิทยาลัย”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2547). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร :ห้างหุ้นส่วนจำกัดจงเจริญการพิมพ์.
อุทัย เลาหวิเชียรและวรเดช จันทร์ศร. (2528). การบริหารการพัฒนา : การเปลี่ยนแปลงและทิศทางในการบริหารและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามเจริญพานิช.