การศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ทรงกลด พลพวก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิมลกานต์ จันทร์ประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ภาพลักษณ์, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกของผู้บริโภคในจังหวัดสุรินทร์ และ 3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 327 กลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยและ และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ One Way ANOVA  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกเพราะเห็นว่า มีความหลากหลายของสินค้า มีการเข้าใช้บริการส่วนใหญ่เดือนละ 1-2 ครั้ง มีช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการ เวลา 16.01-20.00 น. ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการเลือกซื้อสินค้า 31 นาที - 1 ชั่วโมง มีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง ระหว่าง 501-1,000 บาท และซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว การวิเคราะห์การรับรู้ภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ตามความคิดเห็นของผู้บริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านราคา ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่กับพฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภค พบว่าพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคเกี่ยวกับระยะเวลาในการซื้อสินค้า และประเภทของสินค้าที่นิยมซื้อ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2548). น้ำมันแพง-ภัยแล้ง-ปัญหาความปลอดภัย : ผลกระทบค้าปลีกไตรมาส 2. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2547). ธุรกิจค้าปลีกครึ่งหลังปี 47 : ชะลอตัวรับยุคน้ำมันแพง. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.

นงลักษณ์ องอาจโฆสิตวงศ์. (2548). การศึกษาภาพลักษณ์ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักูตลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญฑวรรณ วิงวอน อัจฉรา เมฆสุวรรณ และบุญชนิต วิงวอน. (2559). อิทธิพลของภาพลักษณ์ร้านค้า คุณค่าความสัมพันธ์ พฤติกรรมการบริการและการซื้อซ้ำที่มีต่อความภักดีของลูกค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม. Journal of the Association of Researchers. 21 (2) : 69-83.

รติวัลย์ วัฒนสิน. (2555). การส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจค้าปลักสมัยใหม่ : มุมมองของผู้บริโภคและผู้บริหาร. SDURes.J. 8(2) : 153-173.

ศศิธร ง้วนพันธ์ และธีระ เตชะมณีสถิต. (2557). การสร้างภาพลักษณ์องค์การสำหรับธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ กรณีศึกษาซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย. Suranaree.Soc.Sci. 8 (2) : 1-16.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

สุปัญญา ไขยชาญ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

Anderson, P.M. and L.G. Rubin. (1986). Marketing communication. New Jersey : PrenticeHall.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. 10thed. London : Prentice Hall.

Mowen, J. C. & Minor, M. (1998). Consumer behavior. (5th ed.). New Jersey : Upper Saddle River.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29