การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา ศรีภา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธรรมวิมล สุขเสริม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, เครื่องสำอางนำเข้า, ประเทศเกาหลีใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ จากการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีกลุ่มอายุ 26-35 ปี สถานภาพโสด วุฒิการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้ระหว่าง 10,000-20,000 บาทต่อเดือน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ การจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ และบุคลิกภาพมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กมลวรรณ วนิชพันธุ์. (2557). รูปแบบการดำเนินชีวิต และลักษณะบุคลิกภาพในกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และ เจเนอเรชั่น Y ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อแฟชั่นผ่านทางออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2558). “รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2558”. ระบบสถิติทางการทะเบียน. http://stat.dopa.go.th/stat /statnew/upstat_age.php. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2559.

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.พิมพ์ครั้งที่ 20.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตราภา ยิ่งยง และดุษณี พรมโสดา.(2555). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางเกาหลี

ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต กรณีศึกษา: นักศึกษาหญิง คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. (วิจัยปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศิลปากร).

โชคชัย ชยธวัช. (2547). นักการตลาด CEO ตอน การบริการการตลาด.กรุงเทพฯ: ซี.พี. บุค สแตนดาร์ด.

ณีรนุช ทรัพย์ทวี. (2553). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารเสริม

บำรุงผิวพรรณของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธัญรัฐ ไพศาลวงศ์ดี (2556).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต)

นรินทร ชมชื่น. (2556).พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกเสริมความงามของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

ปวีณา คำพุกกะ. (2556).วิจัยธุรกิจ.อุบลฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). “จังหวัดอุบลราชธานี” ฐานข้อมูลราชกิจจานุเบกษาและการพัฒนากฎหมายอิเล็กทรอนิกส์.http://www.mratchakitcha.soc.go.th/. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2559.

วงศ์เดือน หุ่นทอง. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค (CONSUMER BEHAVIOR). กรุงเทพ ฯ : จี.พี.ไซเบอร์พริ้นท์, 2559.

สำนักงานการคลังจังหวัดอุบลราชธานี. (2559).“รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดอุบลราชธานีครึ่งปีแรก ปี 2559”,กลุ่มงานบริหารการคลังและเศรษฐกิจ (CFO). http://www.cgd.go.th/cs/ubn/ubn/CFO.html?page_locale=th_TH.

สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระพิมพ์และไวเท็กซ จำกัด.

หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อบำรุงผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

อารีพร รักษาวงษ์. (2550). พฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าไวท์เทนนิ่งของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

William G. Cochran. (1997). “Sampling Techniques, 3rd Edition”. TEXTBOOK,

New York: John Wiley & Sons.

Hawkins, D. and et al. (1998). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (7th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Kotler. P. (2003). Marketing management analysis, planning and control. (10th ed.).

New Jersey: Prentice Hall.

Schiffman, L. G. and Kanuk. L. (2004). Consumer behavior (8th ed.). New Jersey:

Pearson Education International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28