ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ฉลอง สุขทอง อาจารย์ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิรินทิพย์ ไตรเกษม อาจารย์ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ตำแหน่งทางวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้บริหารในการสร้างกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 196 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากเอกสาร ผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องลักษณะแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดซึ่งใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามระดับความสำคัญ 5 ระดับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นทำการวิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 40-49 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาโท สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมากที่สุด ส่วนใหญ่ตำแหน่งทางวิชาการในปัจจุบันคือเป็นอาจารย์ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่ำกว่า 5 ปี มีภาระงานสอน/สัปดาห์ มากกว่า 18 คาบ ระยะเวลาที่คาดว่าจะส่งผลงานทางวิชาการเพื่อรับการประเมินโดยเฉลี่ยคือ 4.17 ปี ระดับความเข้าใจในขั้นตอนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความเข้าใจในขั้นตอนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านระดับการศึกษา, ประเภทบุคลากร, อายุ, สถานภาพและระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า ด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยสุขอนามัยโดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า เมื่อจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลด้านตำแหน่งทางวิชาการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 1 คู่คือกลุ่ม ผศ.ให้ความสำคัญกับปัจจัยสุขอนามัยโดยรวมมากกว่ากลุ่มอาจารย์ และด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 1 คู่คือกลุ่ม 5-7 ปีให้ความสำคัญกับปัจจัยสุขอนามัยโดยรวมมากกว่ากลุ่มต่ำกว่า 5 ปี

References

กรรณิการ์ กงแก้ว. (2551). ความต้องการพัฒนาบุคลากรของอาจารย์มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กลุ่มงานสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2554). ประมวลกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ฉันทนา อินทกุล. (2555). ศึกษาปัญหาการเตรียมความพร้อมในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัยสถาบัน หน่วยงานบริหารบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐภร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2553). การสนับสนุนอาจารย์เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559. จาก : http://piriya-pholophirul.blogspot.com/2010/08/blog-post.html

พรทิพย์ พุ่มศิริ. การศึกษาสภาพปัญหาในการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ตามความคิดเห็นของคณาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 4. 7-8 กรกฎาคม 2554. หน้า 465-468. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ : เกณฑ์การเตรียมตัว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิต้า ลิมาน, ปัทมา ปาเนาะและอัสมา เจะเว. (2556). ปัจจัยการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 24(2): 104-118

วัฒนา พัดเกตุ. (2555). การศึกษาเจตนคติในการทำวิจัย และปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559, จาก : http://www.human.nu.ac.th/jhnu/journai_detail.php?a_id=121&v_id=3

วันชัย วนะชิวนาวิน. (2551). วิชาการในศิริราช-เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย. เวชบันทึก. 1 (1) : 39-41.

สังฆรัตน์ สมจิต เดชคุณรัมย์, พระครู. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารศึกษาศาสตร์. 25(2) : 149-160.

สมพิศ สุขแสน. (2553). สภาพปัญหา และความต้องการทำวิจัยและผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่

ตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559, จาก : http://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=2&RecId=1444&obj_id=13055&showmenu=no.

โสภณ เจริญ. (2557). รูปแบบการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อำนวยพร มโนวงค์. (2552). การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ มหาวิทยาลัยพายัพ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamance, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Edition., New York: Harper

and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28