คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, เทศบาลตำบลท่าตูมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ และการศึกษา ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยแบบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการงาน จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพด้านกระบวนการมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการประสานงาน ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีเพียง 2 ด้านที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการประสานงาน ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีเพียง 1 ด้านที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และประชาชนที่มีการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหา/อุปสรรคในการให้บริการ ได้แก่ปัญหาการติดต่อประสานงานทางโทรศัพท์ เป็นส่วนใหญ่ และข้อเสนอแนะในการรับบริการ โดยส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการตรวจเช็คโทรศัพท์อยู่เสมอ หรือควรมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลายขึ้น
References
ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2557). การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของเทศบาลนครสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พระมหาเตชินท์ สิทฺธาภิภู(ผากา). (2554). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2543). คุณภาพในงานบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ยูบีซี แอลบุ๊คส์
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู. (2555). รายงานประจำปีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด.
สุเมศวร์ เสือทอง อรสา จรูญธรรม และกานต์ บุญศิริ. (2556). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลท่าฉวาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(2) : 79-91.