ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้าปลีก เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธิราภรณ์ พริ้งเพราะ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุชาดา เสาสูง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ภาวิณี คุดเขียนสืบ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • ภรณี หลาวทอง คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • กมลทิพย์ ใหม่ชุม คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุรเกียรติ ปริชาตินนท์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ร้านค้าปลีก, ปัจจัยทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้านค้าปลีกเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากร้านค้าปลีกเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 ปีขึ้นไป มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเกษตรกร มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท สถานภาพสมรสแล้ว เลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกด้วยตนเอง เพราะมีความสะดวก สถานที่ร้านค้าใกล้ที่อยู่อาศัย สินค้าที่ซื้อ ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน และขนมขบเคี้ยว มีค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งไม่เกิน 500 บาท จะอยู่ในช่วงวันจันทร์-วันศุกร์ ความถี่ในการซื้อสัปดาห์ละ 3-4 วัน ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกตามปัจจัยทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากที่สุด เพราะมีความสะดวกในการเดินทาง รองลงมาได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ เพราะสินค้ามีคุณภาพ ด้านราคา เพราะได้รับความสะดวกในการชำระค่าสินค้า และด้านการส่งเสริมการตลาด เพราะมีการจัดวางสินค้าอย่างเป็นหมวดหมู่ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน เลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนช่วงอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่างกัน เลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กมลภพ ทิพย์ปาละ (2555). กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิทัล. วิทยานิพนธ์บริการธุรกิจการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกรียงสิทธิ์ เขื่อนแก้ว. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าของร้านค้าปลีก ที่ตั้งอยู่ในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

กฤษณ์ ทัพจุฬา. (2558). ความสำเร็จของธุรกิจร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(2), 108 - 119.

กัลยรัตน์ โตสุขศรี. (2552). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแชมพูสระผม “แพนทีน โปร-วี” ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชื่นสุมล บุนนาค. (2559). ความพึงพอใจในปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชวห่วย) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 66-91.

ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2548). การจัดการตลาด. กรุงเทพมหานคร: กรุ๊ป.เอ็น.เอช.

ธนาภรณ์ แสวงทอง และคณะ. (2555). ผลกระทบจากการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารช่อพะยอม, 23, 66-81.

นันทา ศรีจรัส. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ซีพีของร้านกะไหลผลิตไก่ในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปฏิกร ทิพย์เลอเลิศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผกามาศ ไชยวิสุทธิกุล และณักษ์ กุลิสร์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อกระเป๋าเลียนแบบแบรนด์เนมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1), 97-115.

ละออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2553). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย): ปัญหาและทางแก้ไข. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1).

Chirunthorn, R., Singpaiboonporn, N., Ngaodulyawat, P., Mongkonsuk, S., & Mahattanobol, S. (2007). Factors affecting on decision making on purchasing of dietary supplement: a case study of Hat Yai District, Songkhla Province. Songkhla: Prince of Songkhla University.

Foxall, G. R., & Sigurdsson, V. (2013). Consumer behavior analysis: behavioral economics meets the marketplace. The Psychological Record, 63(2), 231-238.

Grönroos, C. (1997). Keynote paper From marketing mix to relationship marketing-towards a paradigm shift in marketing. Management decision, 35(4), 322-339.

Kotler, P. (1994). Marketing management, analysis, planning, implementation, and control. London: Prentice-Hall International.

Thammaruaksa, S., Saneha, W., & Apirajkamol, S. (2010). Thai gems and jewelry industries census project. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 30(1).

Yingjiao Xu. (2007). Impact of Store Environment on Adult Generation Y Consumers’ Impulse Buying. Journal of Shopping Center Research, 14(1), 39-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28