การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเพณี “กู่กาสิงห์” อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, แหล่งเรียนรู้, ทางวัฒนธรรม, กู่กาสิงห์บทคัดย่อ
“กู่” หมายถึง “ปราสาท” เป็นปราสาทขอมโบราณ มีฐานคติการสร้างเพื่ออุทิศ แด่พระศิวะ ลัทธิไศวนิกายในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู “กู่” เสมือนการจำลองจักรวาลบนพื้นมนุษย์โลก เปรียบเสมือนเขาไกรลาศ ที่ประทับของเทพเจ้า มีพิธีกรรมบวงสรวงประจำปี เรียกว่า สรงกู่ ของชุมชนแห่งนี้ถือเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรมที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวในพื้นที่โดยรอบมีฐานการเรียนรู้ ทั้งหมด6 ฐาน ได้แก่ ฐานผ้าไหม ฐานพิพิธภัณฑ์ ฐานสวนทฤษฎีใหม่ ฐานโบราณสถาน ฐานวรรณกรรม ฐานตัดลาย เป็นต้น และสามารถสัมผัสเทศกาลงานท่องเที่ยว ประเพณีบุญบั้งไฟมีการจัดต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการบริการ และที่พักให้กับผู้คนที่มาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้น คุณค่าที่เกิดจากรากฐานทางวัฒนธรรมจึงกลายมาเป็นจุดเด่นของพื้นที่นี้และกลายเป็นแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาของพื้นที่ที่จัดการให้เกิดแหล่งเรียนรู้ และเป็นพื้นที่รวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่นเอาไว้ ทั้งมี กู่ ปราสาทหินที่สำคัญและอันลำค่าด้วย จึงพบว่า กู่ หรือ ปราสาทขอมแห่งนี้เป็นที่เชื่อมต่อระหว่าง ผู้คนในชุมชน และบุคคลต่างถิ่นที่จะมีการติดต่อ สื่อสารที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชน สถาบันการศึกษา จึงทำให้เกิดเอกลักษณ์ประจำถิ่นของอำเภอเกษตรวิสัย คุณค่าอิทธิพลที่ได้จาก กู่ เพื่อให้เกิดผลผลิตในด้านต่างๆขึ้นต้องอาศัยกู่กาสิงห์ เป็นจุดเชื่อต่อให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้เกิดเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดี โบราณสถาน ทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชน จากความโดนเด่นของพื้นที่ สามารถพัฒนาเป็นเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคงถาวรได้ต่อไป
References
กรมศิลปากร. (ม.ป.ป). แผนที่ทางโบราณคดีจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
กรมศิลปากร. (ม.ป.ป). ทำเนียบโบราณสถานปราสาทขอมในประเทศไทย เล่ม 2 จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
ไกรภพ สาระกุล. (2554). เจาะอารยธรรมโบราณ ขอมพันปี .กรุงเทพฯ : บริษัทพรอสเพอร์ เซอร์วิส ซัพพลาย.
พระมหาถนอม อานนโท. (2560). คุณค่าและอิทธิพลของปราสาทขอม. โรงพิมพ์สาละพิมพ์การ : นครปฐม.
ภูมิจิต เรืองเดช. (2542). วรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : ร้านเอกสารซีพี.
สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2554). มหัศจรรย์เมืองสุรินทร์. สุรินทร์ : โรงพิมพ์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท