ปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนกำแพง ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ชวัญช์ นิ่มนวล Business Administration Student Master of Business Administration
  • ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาการจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาการจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อ

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนกำแพง ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี จำแนกตาม เกรดเฉลี่ยสะสม จำนวนพี่น้องในครอบครัว รายได้ต่อเดือนของครอบครัว และ3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนกำแพง ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 284 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ F-test โดยเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.806 ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 17 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 เกรดเฉลี่ยสะสม 2.51-3.00 มีจำนวนพี่น้องในครอบครัวโดยเฉลี่ย 2 คน ผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง 5,000-10,000 บาท แหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการศึกษาได้รับจากผู้ปกครอง ปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยส่วนตัวตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันมีปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในด้านส่วนตัว ด้านครอบครัว ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจต่างกัน กลุ่มตัวอย่างทีมีจำนวนพี่น้องในครอบครัวต่างกันมีปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในด้านครอบครัว และด้านเศรษฐกิจต่างกัน ส่วนในด้านส่วนตัว และด้านสังคม ไม่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ของครอบครัวต่างกันมีปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในด้านส่วนตัว และด้านครอบครัวต่างกัน ส่วนในด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกันในระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างพบปัญหาและอุปสรรคต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในด้านการเงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับการศึกษาต่อไม่เพียงพอ โดยมีข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีทุนการศึกษาต่อ เช่น ทุนเรียนดี ทุนยากจน

References

จุรีพร ศรีสุพรรณ. (2558).ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อของนักเรียนพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชนนีสุรินทร์. รายงานวิจัยระดับปริญญาตรี สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการธุรกิจ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ฐิติพงศ์ สายอยู่. (2558).ปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักเรียนสาขางาน เทคนิคยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2560). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษา ชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญทิพย์ เสพสุข และเสาวนันท์ กงทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนโนนเทพตำบลหนองเทพ อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์. รายงานวิจัยระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

มงคล ราชบุตร. (2550).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรมของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

รณชัย คงกะพันธ์. (2553).ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษาจังหวัดภูเก็ตและ จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยราชพฤกษ์ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งวิทยาลัย เทคโนโลยีภูเก็ต.

วรวรรณ ทรงวาจา. (2560). ปัจจัยที่เอื้อต่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียน ประสาทวิทยาคาร ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์.รายงานวิจัยระดับปริญญาตรี หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28