แนวทางการจัดเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ญาณเดช ชื่นจิตต์ Lecturer in Tourism and Hotel, Vongchalitkul University
  • นุกูล ชูแก้ว Lecturer in Logistics and Supply Chain, Vongchalitkul University
  • พัชราวไล แก้วปลั่ง Lecturer in Logistics and Supply Chain, Vongchalitkul University

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, ต้นทุนโลจิสติกส์, โลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดนครราขสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ และเพื่อแจกแจงข้อมูลเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธประชากร คือ วัดในเขตจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 2,088 วัด คณะผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้จำนวน 9 วัดเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยว แบบบันทึกข้อมูลระยะเวลาเดินทางท่องเที่ยว และแบบบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยคณะผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุน ผลการศึกษาแนวทางการจัดเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดนครราขสีมา พบว่า 1) เส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธสำหรับวัด 9 แห่ง มีจำนวน 3 เส้นทาง 2) การเปรียบเทียบระยะทาง ระยะเวลา และต้นทุนการเดินทางในแต่ละเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ซึ่งสามารถแจกแจงข้อมูลเส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธได้ดังนี้ เส้นทางที่ 1 เส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ 1 สำหรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากภาคกลาง ประกอบด้วย 1) วัดป่าภูผาสูง 2)วัดโนนไทย 3) วัดอรัญพรหมาราม 4) สำนักรัตนมณี อาศรมสถาน สวนพฤกษศาสตร์ครูบากฤษณะ อิณทวัณโณ 5) วัดเสิงสาง 6) วัดปอแดง 7) วัดป่าเขาภูหลวง 8) วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม และ 9) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ระยะทางทั้งหมด 639 กิโลเมตร ระยะเวลาการเดินทาง 11 ชั่วโมง 7 นาที และต้นทุน 2,389 บาท เส้นทางที่ 2 เส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ 2 สำหรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย 1) วัดโนนไทย 2)วัดป่าภูผาสูง 3) วัดป่าทรัพย์ทวี 4) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม 5) วัดป่าเขาภูหลวง 6) วัดปอแดง 7) วัดเสิงสาง 8) สำนักรัตนมณี อาศรมสถาน สวนพฤกษศาสตร์ครูบากฤษณะ อิณทวัณโณ และ 9) วัดอรัญพรหมารามระยะทางทั้งหมด 617 กิโลเมตรระยะเวลาการเดินทาง10 ชั่วโมง 48 นาที และต้นทุน 2,306 บาท เส้นทางที่ 3 เส้นทางโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ 3สำหรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม 2) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม 3) วัดป่าภูผาสูง 4) วัดโนนไทย 5) วัดอรัญพรหมาราม 6) สำนักรัตนมณี อาศรมสถาน สวนพฤกษศาสตร์ครูบากฤษณะ อิณทวัณโณ7) วัดเสิงสาง 8) วัดปอแดง และ 9) วัดป่าเขาภูหลวง ระยะทางทั้งหมด 694 กิโลเมตร ระยะเวลาการเดินทาง 11 ชั่วโมง 33 นาที และต้นทุน 2,594 บาท การจัดเส้นทางโลจิสติกส์ท่องเที่ยวเชิงพุทธของงานวิจัยนี้ช่วยทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินมาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกสามารถเดินทางได้คล่องตัว สะดวก และลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าววนเป็นวงกลม

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). วัดหลวงปู่สอน. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562, จาก http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=503690&random=1495017927264

กศน.ตำบลวังไม้แดง. (2557). แหล่งท่องเที่ยวในตำบลวังไม้แดง วัดอรัญพรหมาราม. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562, จากhttp://korat.nfe.go.th/WangMaiDaeng/?name=knowledge&file=readknowledge&id=31

คมชัดลึก. (2562). นับพันร่วมงาน อายุวัฒนมงคล 65 ปี ครูบากฤษณะ อินทวัณโณ. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก https://www.komchadluek.net/news/local/382247

จิรวรรณ ปลั่งพงษ์พันธ์. (2561). การนำระบบต้นฐานกิจกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมการบริการ. วารสารจันทรเกษมสาร, 24 (46), 80 – 93.

ฉลอง พันธ์จันทร์. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาเส้นทางและกิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงพุทธในพื้นที่จังหวัดข่อนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม. วารสารศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม, 7(1), 243 – 267.

ฐาปนี เพ็งสุข. (2561). การสร้างสื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวรอยพระพุทธบาท โดยใช้ Google Maps API กรณีศึกษา: รอยพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7 (1), 52 – 63.

เทศบาลตำบลโนนไทย. (ม.ป.ป.). วัดโนนไทย. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562, จาก https://nonthai.go.th/ สถานที่สำคัญในตำบล.

พระอาจารย์กัณหา สุขกาโม. (2556). เกสรธรรม. นครราชสีมา: วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม, 44.

พลเชษฐ์ พันธุ์พิทักษ์. (2557). ชวนเที่ยว ‘วัดป่าภูผาสูง’ สงบ-สง่า-งาม ท่ามกลางธรรมชาติสวย ๆ แห่งเขาช้างหลวงโคราชบ้านเอ็ง. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก http://moremove.com/mmV5/?p=14338

วริศรา สมเกียรติกุล, กมล เรืองเดช และบุญฤกษ์ บุญคง. (2562). แนวทางการจัดทำโปรแกรมประยุกต์เส้นทางการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชานวัตกรรมและสื่อสารสังคม, 4 (2), 144 – 155.

Blt Bangkok. (2561). ท่องเที่ยวไทยสดใส กวาดรายได้แตะ 1 ล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.bltbangkok.com/News/ท่องเที่ยวไทยสดใส กวาดรายได้แตะ 1 ล้านบาท.

Tourism Authority of Thailand. (ม.ป.ป.). นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562, จาก https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/นครราชสีมา/580

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28