ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของบุคลากรหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ศักดิ์ศรี นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ธรรมวิมล สุขเสริม อาจารย์ที่ปรึกษา ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, บุคลากร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของทรัพยากรทางการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร จำนวน 280 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ41 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานน้อยกว่า 5 ปี มีสถานภาพการปฏิบัติงาน คือ อาสาสมัคร และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ระดับความคิดเห็นของทรัพยากรทางการบริหารจัดการด้านคุณธรรม (Morality) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด โดยมีระดับความคิดเห็นมาก ส่วนการบริหารจัดการด้านงบประมาณ (Money)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดมีระดับความคิดเห็นปานกลาง ระดับความคิดเห็นของประสิทธิภาพ ความทันเวลามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีความคิดเห็นระดับมาก ในขณะที่ความคุ้มค่ามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีระดับความคิดเห็นมากในการทดสอบอิทธิพลของทรัพยากรทางการบริหารจัดการ (6M’s) พบว่า การบริหารจัดการด้านบุคลากร (Man) การบริหารจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ (Material) การบริหารจัดการด้านงานทั่วไป (Management) และการให้บริการประชาชน (Market) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนทรัพยากรทางการบริหารจัดการที่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยโสธร คือ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ (Money) และการบริหารจัดการด้านคุณธรรม (Morality)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 20.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณะ ไกรสี. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณทิต: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

โกวิท นาคพงษ์. (2554). การพัฒนาการบริหารจัดการที่สนับสนุนสวัสดิการผู้ต้องขังของเรือนจำกลางบางขวาง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ขนิษฐา จูมลี. (2554). การบริหารจัดการด้านการให้บริการของสำนักวิทยบริการที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษามหาวิยาลัยอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

นิตยา มีภูมิ. (2554). การพัฒนาการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ดวงเดือน บุญประเสริฐ. (2555). การบริหารงานคุณภาพในองค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/381912.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น, 2554.

พัชรี คูเมือง. (2556). การจัดการ 6M’s ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอรด์ดี.

ธันยวัฒน์รัตนสัค. (2555). การบริหารราชการไทย. เชียงใหม่: คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มนัส มหาวงค์. (2559). องค์ประกอบการจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

วรพล หนูนุ่น. (2559). การประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติงานของภาครัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/11565.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2553). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:

เอ็กซเปอร์เน็ท.

สนอง มาลัยขวัญ. (2554). การบริหารจัดการด้านการมีส่วนร่วมระหว่างตำบลและหมู่บ้านกับองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมพร มาคิน. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรทางการจัดการ 7M’s กับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สุดใจ ทองเจริญ. (2553). องค์ประกอบทางการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สุพรรณ ยามาดะ. (2558). ทรัพยากรการบริหารกับประสิทธิผลของงานพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2534). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. ”ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 108 ตอนที่ 156 ฉบับพิเศษ หน้า 1. 4 กันยายน 2534.

ศรีมอย ชะเอมทอง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสาธารณสุขของเทศบาลตำบลอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตามทัศนะของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุข. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

อัญชลี จอมคำสิงห์. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง

กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28