การศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยจักรยานในหมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ เจือจันทร์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวด้วยเชิงนิเวศ, การท่องเที่ยวด้วยจักรยาน, หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยจักรยานในหมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์ ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงผสมสาน (Mix method) กล่าวคือ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสำรวจเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยจักรยานในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยจักรยานในจังหวัดสุรินทร์และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน (แนวเทือกเขาพนมดงรัก) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ระยะทางการเดินทางจากสุรินทร์ไปหมู่บ้านช้างสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 4.82 (S.D.= .405) ด้านกิจกรรมผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ พิธีบายศรี/การแสดงพื้นบ้าน โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) เท่ากับ 4.91 (S.D.= .302 จากการศึกษาเส้นทางการเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ไปหมู่บ้านช้าง พบว่ามีเส้นทางหลักๆ ที่นิยมใช้ในการเดินทาง 3 เส้นทาง และเส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยวในหมู่บ้านช้าง มี 7 เส้นทาง นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวจากหมู่บ้านช้างไปราชอาณาจักรกัมพูชาได้

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). สรุปผลงานวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์และโอกาสการ ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวกลุ่ม Eco & Adventure. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2560, จาก http://www.etatjournal. com/web/menu-read-web-etatjournal/menu-2013/menu-2013-jul-sep/530-32556-eco-adventure.

ทวีพล ไชยพงษ์. (2557). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยจักรยาน ณ วนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิศา ชัชกุล. (2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด

_______. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ไฟว์ แอนด์ โฟร์พริ้นติ้ง จำกัด.

พณกฤษ อุดมกิตติ. (2557 : พฤษภาคม-สิงหาคม). การจัดการเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว

ยั่งยืนในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2) : 561-578.

มัลลิกา เจแคน. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวหมู่บ้านช้างสุรินทร์ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสรี เวชชบุษกร. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิทยาการจัดการ.

อดิเรก อุ่นเจริญ และพลเดช เชาวรัตน์. (2558). ระบบจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวกรณีศึกษา : อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

BLT Bangkok. (2561). ท่องเที่ยวไทยสดใส กวาดรายได้แตะ 1 ล้านล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561, จาก http://www.bltbangkok.com/News/ท่องเที่ยวไทยสดใสกวาดรายได้แตะ 1 ล้านล้านบาท

kapook. (2552). การเตรียมตัวออกทริปท่องเที่ยว...ด้วยจักรยาน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2560, จาก

https://travel.kapook.com/view5038.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28