แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมบ้านใหม่ดงสำโรง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • หนูข่าย กิ่งจันทร์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิวาพร พยัคฆนันท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวละการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัครเดช สุพรรณฝ่าย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสน์ศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา,, การท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม, แหล่งท่องเที่ยวบ้านใหม่ดงสำโรง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวบ้านใหม่ดงสำโรง  ตำบลนาคำ  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี  2)  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมบ้านใหม่ดงสำโรง  ตำบลนาคำ  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกับผู้ให้ข้อมูล  คือ  ปราชญ์ชาวบ้าน  ผู้นำชุมชน  นักท่องเที่ยว  ผู้ประกอบการ  ชาวบ้าน  และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาโดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน  8  คน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านใหม่ดงสำโรงเป็นชุมชนที่มีอาชีพหลักคือการทำไร่  ทำนา  ทำสวน  ประชาชนมีความสามัคคีและมีความเชื่อในหลักพระพุทธศาสนา  ชุมชนมีพื้นที่สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบด้วย  ภูเขา  ป่าไม้  ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว  ซึ่งประกอบด้วยภูอานม้า  รอยเกวียนโบราณซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าโบราณ  และความสมบูรณ์ของธรรมชาติได้สร้างน้ำตกที่มีความสวยงามซึ่งเรียกว่า  “น้ำตกโบกลึก”  ชุมชนบ้านใหม่ดงสำโรงประสบปัญหาในการจัดการท่องเที่ยวคือสภาพของแหล่งท่องเที่ยวทรุดโทรม  เช่น  การตัดไม้ทำลายป่า  การใช้สารเคมีทางการเกษตร  การทิ้งขยะ  การจำหน่ายของมึนเมาในแหล่งท่องเที่ยวและปัญหาการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนั้นยังพบปัญหาความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐ  ผู้ประกอบการ  และประชาชนหรือนักท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการระหว่าง  3  หน่วยงาน  เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมบ้านใหม่ดงสำโรง  ตำบลนาคำ  อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี  ควรดำเนินการดังนี้  1)  ชุมชนเป็นเจ้าของ  ควรสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและการสำนึกถึงความเป็นเจ้าของ  ทั้งนี้การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญเพื่อให้คนรุ่นหลังรู้สึกหวงแหนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2)  ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ ควรอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และเชื่อมโยงกับการการเกษตรในพื้นที่ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและดูแลพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและการดูแลอย่างอย่าง 3)  ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง  ควรพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์วิถีชีวิตวัฒนธรรม  และการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชน  ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวงแหนพื้นที่และสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นตัวตนของตนเอง  และคำนึงถึงเอกลักษณ์ของสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น4) ยกระดับคุณภาพชีวิต  ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีการประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานรัฐและสามารถทำได้โดยการจัดให้มีเทศการการท่องเที่ยวประจำปี  เพื่อเป็นการกระจายรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  5)  สร้างความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม  ควรสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  เช่น  การปลูกป่าทดแทน  การสร้างฝ่ายกั้นน้ำ  การรณรงค์การกำจัดขยะ  6)  สร้างการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม การศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงโดยการจดบันทึกและการศึกษาโดยการองค์ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ  และเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  การจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมมีความจำเป็นต้องยึดหลักความเข้าในในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและต้องให้ความเคารพในวัฒนธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมนั้น 7)  การมีส่วนร่วมและเกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น  ควรจัดกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัด  เช่น จัดเป็นเทศการการท่องเที่ยวประจำปี  8)  มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน  การจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรม  มีการพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  มีการจัดระเบียบสถานที่ท่องเที่ยว  ร้านค้า  ความสะอาด และการบริการระบบสาธารณูปโภค เช่นห้องน้ำ  ถังขยะ  เป็นต้น

References

กรรณิการ์ ชมดี. (2524). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ: ศึกษาเฉพาะกรณีโครงสร้างสารภี ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสังคม, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กนิษฐา อุ่ยถาวรและคณะ. (2555). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบริเวณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สาขาหนองแม่นา จังหวัดเพชรบูรณ์. เชียงใหม่ :สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2553). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. โปรแกรมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.

ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). ส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การศึกษานโยบาย สาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไพลินพันธ์ สร้อยจาตุรงค์. (2555). กลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติแนวอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ โดยใช้คู่มือการแนะนำเชิงนิเวศ. : กรณีศึกษา นักศึกษา

เสรี เวชบุษกร. (2538). สวนนันทนาการและสื่อความหมาย สำนักอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานแหงชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก http://www.dnp.go.th/npo/html/Tour/

Eco_Tour.html.

สิศึก ฤทธิ์เนติกุลและคณะ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับการอยู่รอดของชุมชนชาวม้ง บ้านดอยปุย. อุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อุดรวงษ์ทับทิมและคณะ. (2552). ชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมชุมชนตำบลแม่ฮี้อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สำนักงานภาค).

CeballosLascurain. (1991). ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2559, จาก http://www.msu.ac.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28