พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดื่ม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอรัตนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 4-6 ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับชั้น เงินที่ได้รับเมื่อมาโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 312 คน จากการใช้สูตรคำนวณของ TaroYamane โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติน้อย (=1.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปฏิบัติน้อย ยกเว้นด้านสถานที่ที่ดื่มอยู่ในระดับปฏิบัติน้อยที่สุด (=1.43) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรม เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับชั้น เงินที่ได้รับเมื่อมาโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมแล้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นเงินที่ได้รับเมื่อมาโรงเรียนที่ไม่แตกต่างกัน
References
ชลธิชา โรจนแสง. (2550). เยาวชนไทย : กรณีศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดุษฎี แสงคำ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นอำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาสาธาณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ธนพงศ์ ต่วนชะเอม และคณะ. (2550). พฤติกรรมการดื่มสุราและการรับรู้ผลกระทบจากการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ครุศาสตร์บัณฑิต สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยจันทรเกษม.
นวลน้อย ตรีรัตน์ และคนอื่นๆ. (2557). เรื่องเหล้าก้าว 10. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. โรงพิมพ์เดือนตุลา.
เนื้อแพร เล็กฟื่องฟู และคนอื่นๆ. (2558). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2558. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาสน์.
ปรพร แซ่ห่าน. (2550). พฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษาโรงเรียนรัฐบาลในระดับอำเภอของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วินัย ชาวเมืองปักษ์. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2559,จาก : http://www.nso.go.th.
สุทธิพงษ์ กรานเขียว. (2558). พฤติกรรมการดื่มสุราของนิสิตภาคพิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการบริหารทั่วไปวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภา ชัยประเศียร. (2550). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนงค์ ดิษฐสังข์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd edition). Newyork : Harper and Row Publication.