แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธนโชติ กิ่งจันทร์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ปิยศักดิ์ สีดา อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุริยะ ชนะชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การจัดการ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาบริบทศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี2) เพื่อศึกษาการจัดการต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนเทศบาลตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามจำนวน 375 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดแนวทางการพัฒนาโดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 13 คน ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อนจะเข้าสู่ระดับอนุบาล ซึ่งประกอบด้วยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนจำนวน 5 แห่ง คือ 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านฟ้าห่วน2)ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านหนองห้าง 3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านคำเตย 4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านใหม่ดงสำโรง5) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลนาคำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำ เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ต้องได้รับการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เช่น สภาพแวดล้อม อาคารเรียน ห้องน้ำ สนามเด็กเล่นและสื่อการเรียนการสอน ในปัจจุบันพบว่าสัดส่วนของครูต่อจำนวนเด็กเล็กไม่เพียงพอ ประกอบกับความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้เกิดมาตรฐาน โดยมีการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรและมีการเข้าร่วมประกันคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ การวิเคราะห์การจัดการต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนเทศบาลตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานีภาพรวมความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 375 คน เป็นเพศชายจำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 32.27 เพศหญิงจำนวน 254 คน คิดเป็นร้อยละ 67.73 พบว่าด้านที่ประชาชนให้ความสำคัญต่อการพัฒนามากที่สุดคือด้านการบริหารงานอย่างเป็นระบบ (gif.latex?\bar{x} = 4.29 ,S.D.=0.73) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการสร้างเครือข่าย (gif.latex?\bar{x} = 4.18 , S.D. =0.83) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและสุขอนามัย (gif.latex?\bar{x} = 3.94 , S.D. =0.82) ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการบริหารทรัพยากร (gif.latex?\bar{x} = 3.93, S.D. =0.87) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านมาตรการความปลอดภัยของศูนย์เด็ก (gif.latex?\bar{x} = 3.76 , S.D. =0.94) จากการการวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดแนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานีโดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ตามลำดับการพัฒนาได้ดังนี้ 1. ด้านการบริหารงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์การบริหารศูนย์เด็กเล็กอย่างเกิดระบบและเกิดความเข้าใจในดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2.ด้านการสร้างเครือข่าย ควรการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การจัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งอื่นอื่น 3ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและสุขอนามัย ควรจัดสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นระเบียบและปลอดภัย สะอาด มีอากาศถ่ายเท พร้อมกับการจัดเตรียมอาหารและผู้ปรุงอาหารมีสุขภาพดีถูกสุขลักษณะ มีห้องน้ำห้องส้วมที่สะอาด ปลอดภัย เพียงพอต่อจำนวนเด็กและการจัดให้มีอุปกรณ์ วัสดุ สนามเด็กเล่นที่มีความหลายหลาย 4. ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร โดยบุคลาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือได้ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมวัยโดยตรงและ 5.ด้านมาตรการความปลอดภัยของศูนย์เด็กควรจัดการความปลอดภัยของอาคารให้มีความแข็งแกร่ง มีระบบรักษาความปลอดภัยหรือระบบเตือนภัยและมีการสำรวจค้นหาจุดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ทั้งอาคารและสภาพแวดล้อมทั่วไป

References

กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2547). มาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (มาตรฐานขั้นพื้นฐาน) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

จรรยา ชินสี. (2552). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2550). ความคิดเห็นของผู้ดูแลเด็กที่มีต่อปัญหาการจัดการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนพล ดอนชวนชม. (2552). แนวทางการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภเนตร ธรรมบวร. (2540). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปองสิน วิเศษสิริ. (2550). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

สาโรช คัชมาตย์. (2547). คู่มือมือพัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28