การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดสำหรับโอท็อปนวัตวิถีในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นวัฒกร โพธิสาร อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • วิจิตรา โพธิสาร อาจารย์ประจำสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิรินทิพย์ พิศวง อาจารย์ประจำสาขาการตลาดสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จักรกฤช ใจรัศมี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  • พุฒิพงษ์ รับจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาการสื่อสารมวลชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด, โอท็อปนวัตวิถี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการสั่งซื้อสินค้าโอทอปนวัตวิถีในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการสั่งซื้อสินค้าโอทอปนวัตวิถีในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีองค์ประกอบปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญที่มีผลต่อการสั่งซื้อสินค้าโดยรวม อยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.03) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองปัจจัยผลิตภัณฑ์มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านความหลากหลายของประเภทและรูปแบบ มากที่สุด ปัจจัยราคามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านระดับราคาที่หลากหลาย ปัจจัยการจัดจำหน่ายมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านการแสดงการผลิตสินค้า และปัจจัยการส่งเสริมการตลาดมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านการลด แลก แจก แถมมากที่สุด ผลการศึกษาโมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานโมเดล โดยมีค่า Chi-square = 217.959, DF = 120, Chi-square/ DF = 1.816, GFI = 0.941, AGFI = 0.916, CFI = 0.952, RMSEA = 0.045 และเมื่อเรียงลำดับองค์ประกอบที่มีผลต่อการสั่งซื้อสินค้าโอทอปนวัตวิถีในจังหวัดสุรินทร์ ดังนี ราคา (b = 0.917) ช่องทางการจัดจำหน่าย (b = 0.724) ผลิตภัณฑ์ (b = 0.729) และการส่งเสริมการตลาด (b = 0.649)

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก : http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051/GENERAL/DATA0000/00000042.PDF.

เกียรติศักดิ์ อิชยานันท์. (2557). อิทธิพลส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(2), 30 - 41.

ชัชสรัญ รอดยิ้ม และโรจนี พิริยะเวชากุล. (2562). องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้า OTOP ในตลาด AEC. วารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 103 – 123.

ธนวันต์ สิทธิไทย และ สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์. (2556). กลยุทธ์การตลาดบริการธุรกิจร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลเพื่อสร้างศักยภาพทางการท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(3), 194 - 213.

นราธิป ภักดีจันทร์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าโอทอปของกลุ่มวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 1(2), 55 – 64.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 228 หน้า.

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2556). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2), 40 - 56.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Integrated Model กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 1698 - 1711.

สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์. (2560). รายงานสถิติจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์. 189 หน้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19