แนวโน้มพฤติกรรมที่จะเลือกเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงของผู้โดยสารชาวไทย เทียบกับการเดินทางด้วยสายการบินต้นทุนต่ า ในเส้นทาง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเดินทางต่อแนวโน้ม ใน
การเลือกใช้บริการรถไฟความเร็วสูงของผู้โดยสารชาวไทยในเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โดยเทียบกับ
การเดินทางด้วยสายการบินต้นทุนค่า ซึ่งรูปแบบการเดินทางทั้ง 2 ประเภทมีคุณสมบัติในด้าน
ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นน่าข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบ
แนวทางการให้บริการในการสนองตอบต่อพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารกลุ่มเป้าหมาย ที่มี
แนวโน้มจะเลือกเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางที่ศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือผู้โดยสารชาวไทยที่เคยใช้บริการกับ สายการบิน
ต้นทุนต่่าจ่านวน 433 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติส่าเร็จรูป โดย
ใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิง
อนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ independent t-test และสถิติ One-Way ANOVA ในการ
ทดสอบความแตกต่างของแนวโน้มพฤติกรรมระหว่างกลุ่มประชากร
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ากลุ่มผู้โดยสารที่มีสถานภาพโสด กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัด
เชียงใหม่ และกลุ่มที่เลือกเดินทางในช่วงเวลา 17:01 น. - 23:00 น. เป็นกลุ่มผู้โดยสารที่มีแนวโน้มที่จะ
เลือกใช้บริการรถไฟความเร็วสูงมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติ
Abstract
The purpose of this research is to study the affect of the personal factors and
travel behaviors of Thai passengers to the tendency to choose High Speed Rail (HSR)as
the preferred mode of transport, compared to travelling by Low Cost Carriers (LCCs) on
the Bangkok–Chiang Mai route. The analysis of data eventually leads to series of
recommendations for the HSR service in the Thailand, especially for the Bangkok-
Chiang Mai route. A questionnaire was used as data collection tool. Survey
questionnaires were collected from 433 Thai passengers who had travel experiences
with LCCs. The data were then analyzed with a statistical analysis software through
descriptive statistics, including frequency, percentage, means, and standard deviation.
In addition, inferential statistics was also performed to test the significance of
affect, including; Independent t-test and One-way ANOVA.
The hypothesis testing results concluded that passengers who are single, living
in Chiang Mai and preferred to travel between 17:00 – 23:00 hrs. have the highest
tendency to use the service of HSR significantly.