การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จังหวัดนครพนม ตามแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Main Article Content

เพ็ญประภา เพชระบูรณิน และคณะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทาง

ประวัติศาสตร์ ตามแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิเคราะห์สภาพการณ์ของแหล่งท่องเที่ยวทาง

ประวัติศาสตร์ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่ง

ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จังหวัดนครพนม จ านวน 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัด

ธาตุเรณู และวัดธาตุศรีคูณ เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม และเทคนิคการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวทั้ง 3 แห่ง สามารถพัฒนา

ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งโอกาส และ

อุปสรรค จากการประชุมพบว่า วัดธาตุพนมมีจุดแข็งคือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ส าคัญ

จุดอ่อนคือ ขาดการรวมกลุ่มของชุมชนที่เข้มแข็ง แต่มีโอกาสในการพัฒนาเพราะมีหน่วยงานภาครัฐ

สนับสนุน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว และมีอุปสรรคคือ มีผู้ฉวย

โอกาสหาผลประโยชน์จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว วัดธาตุเรณูมีจุดแข็งคือมีการแสดงพื้นบ้านและการ

แต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และชาวบ้านยังมีวิถีชีวิตดั้งเดิมแบบภูไท จุดอ่อนคือ เจ้าหน้าที่ขาด

การตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสในการพัฒนาเพราะมีหน่วยงานภาครัฐ

สนับสนุน พร้อมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว และมีอุปสรรคคือ มีผู้ฉวย

โอกาสหาผลประโยชน์จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว วัดธาตุศรีคูณ มีจุดแข็งคือชาวบ้านมีวิถีชีวิตดั้งเดิม

แบบชนบท และมีความร่วมมือในระดับสูง จุดอ่อนคือ แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา ป้ายบอก

ทางไม่ชัดเจน แต่มีโอกาสในการพัฒนาเพราะมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว และมีอุปสรรคคือ การประชาสัมพันธ์ไม่มีประสิทธิภาพ และแนวทาง

ในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดย 1) สร้าง

ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยจัดตั้งกลุ่ม และมีผู้มีอ านาจในการตัดสินใจที่ชัดเจน2) จัดให้มี

ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 3) จัดอบรมเจ้าหน้าที่ ปราญช์ชาวบ้านหรือมัคคุเทศก์น้อย เพื่อ

สื่อความหมาย 4) หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนสิ่งอ านวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว

This research aims to study the environmental management of historic sites by

green tourism concept. Analysis of historical circumstances and suggestions for

developing the environmental management of historic of Nakhon Phanom Province

include 3 temples;Phra That Phranom Waramaha Viharn, Phra That Renu and Phra That

Si Kun. The results of this study showed that all 3 temples can be developed as Green

Tourism effectively. And analysis of strengths, weaknesses, opportunities and threats of

the meeting showed. Phra That Phanom is a dominant historical destination with

critical weakness in lack of integration of a strong community. The stentgh element of

Phu Tai is a folk dance and a unique dress of community. And residents also have

traditional lifestyles. Phu Tai’s weakness is lack of staff awareness of environmental

impacts but has a chance to develop because of government support. Phra That

Sikun’s strength the element is a traditional way of life of rural residentsand high level

of cooperation with the weakness in point that tourism has not been developed.

Suggestions for developing the environmental management of historic sites are: 1)

creating a partnership with all sectors by establishing and has the authority to decide a

clear. 2) providing knowledge about environmental management to destination

admininistration 3) training staffs or tour guides to convey valuable meaning of

destination, and4) supporting tourism infrastructure by local government.

Article Details

บท
บทความวิจัย