พฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยว จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

จิราภรณ์ ขาวศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยว จังหวัดพัทลุง มี

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินศักยภาพสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดพัทลุง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรม

การซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลให้

นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดพัทลุง

วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก การสํารวจศักยภาพของสินค้าของที่ระลึกใน

จังหวัดพัทลุง ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสํารวจร้านค้าของที่ระลึก 6 ประเภท ประเภทละ 20 ร้านค้า โดยใช้

แบบสํารวจเข้าดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนที่สอง ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของ

นักท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง และส่วนที่สาม ศึกษาปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกของ

นักท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง ซึ่งส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 มีกลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม

ในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดพัทลุง ผล

การศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าประเภทอาหาร มีการคํานึงถึงหลักในการ

ซื้อโดยเน้นอรรถประโยชน์ของสินค้าเป็นหลัก ซื้อเพราะราคาอยู่ในระดับที่สามารถจับจ่ายได้ ผู้ที่มี

อิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกคือ คนในครอบครัว โดยซื้อสินค้าส่วนใหญ่ในอําเภอตะโหมด

ค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกเฉลี่ยต่อครั้งต่ํากว่า 500 บาท และนักท่องเที่ยวทราบ

แหล่งข้อมูลสินค้าของที่ระลึกจากเพื่อน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสําคัญด้านผลิตภัณฑ์ใน

ประโยชน์การใช้สอย คุณภาพ และความเป็นเอกลักษณ์ ด้านราคาในเรื่องของสินค้าราคาถูก ราคา

สมเหตุสมผล ด้านช่องทางการจัดจําหน่ายในทําเลที่ตั้งหาง่ายสะดวก มีสถานที่จอดรถเพียงพอ และด้าน

การส่งเสริมการตลาดในการมีสินค้าตัวอย่าง ของแถม และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ร้าน

แนวทางในการดําเนินงาน เพื่อเพิ่มให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดพัทลุง

มากยิ่งขึ้น คือ 1) ส่งเสริมสินค้าบางประเภทที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เช่น ของใช้บนโต๊ะอาหาร

เครื่องประดับ เป็นต้น 2) ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาในด้านของความโดดเด่นหรือยี่ห้อของสินค้า

สีสัน และรูปแบบของของตัวสินค้า 3) ปรับปรุงให้มีป้ายราคาสินค้าระบุติดไว้ให้ชัดเจน 4) ปรับปรุงและ

พัฒนาการจัดวางสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ระเบียบเรียบร้อย 5) ควรมีการปรับปรุงในด้านของพนักงานขาย

ให้มีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าและบุคลิกภาพที่ดี โดยการยิ้มแย้มแจ่มใสมีใจรักในการบริการ

Abstract

The objective of this study is 1) to assess the potential of Phatthalung’s

souvenir products; 2) to study souvenir purchasing behavior of tourists in Phatthalung

province and; 3) to study the influence factors in purchasing souvenir from tourists in

The methodology of this study is separated into 3 parts. The first is potential

survey of Phatthalung’s souvenir products which is collected the data by surveying 20

souvenir stores through questionnaire. The second part is a study of behavior and

influence factors of tourists to purchase souvenir products. The third part influence

factors that induce tourists to purchase souvenir products. The data is collected from

400 samples by using questionnaire, and then analyzed. The statistical methods are

percentage, average value, frequency distributions, and standard deviation. The result

revealed that most of respondents chose to purchase food products by emphasizes

mainly on benefits of the products due to the prices at payable level. Influence

person regarding product selection is the people in the family. Most of the products 

were purchased from Ta Mot district with the average purchasing price per time below

500 baht and tourists got the information of purchasing source from their friends. Most

of respondents gave precedence regarding products aspect in its utilities, quality, and

uniqueness, pricing aspect in cheapness and reasonable price, and distribution channel

aspect in convenience of location and sufficient of parking spaces, and marketing

promotional aspect in sample products, premiums, and advertising of the stores.

Recommendations to increase the purchasing of souvenir products are 1) to

promote low selling products, including tableware and decorations; 2) to improve and

to develop and brand identity, color and appeases looks of the products; 3) to have

the price clearly marked on the products; 4) to improve and to develop the systematic

display of the products; 5) to improve sales staff to know more about the products, as

well as to develop personality, and have service minded.

Article Details

บท
บทความวิจัย