การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย "ข้าวไร่กะเหรี่ยง" อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี Communities Participation in the Development Sustainable Tourism to Kareang Rice in Dan-Chang District, Suphanburi Province

Main Article Content

รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ
ถิรพร แสงพิรุณ
นพเวช บุญมี
วรเวชช์ อ่อนน้อม
ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์
นภาพร จันทร์ฉาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและวัฒนธรรมข้าวไร่กะเหรี่ยง 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย ข้าวไร่กะเหรี่ยง ใช้วิธีการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมด้วยการใช้ทฤษฎีเชิงพื้นที่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่มกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอโดยการบรรยายเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า ชาวกะเหรี่ยงแห่งหมู่บ้านตะเพินคี่ มีวิถีชีวิตความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับ “ข้าว" สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน นำมาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าวเป็นวัฒนธรรมมข้าวไร่กะเหรี่ยงที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมี สำหรับพิธีกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเรียกขวัญข้าว ทำบุญข้าวใหม่ ไหว้พระธาตุจุฬามณี เป็นต้น นำไปสู่การท่องเที่ยวตามปฏิทินกิจกรรมข้าวไร่ 12 เดือน จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยข้าวไร่กะเหรี่ยง ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่   1) การมีส่วนร่วมและกระจายงานแบ่งความรับผิดชอบของชาวกะเหรี่ยง 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยว ด้าน ที่พัก ด้านอาหาร ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านการคมนาคมขนส่งรวมถึงการต้อนรับและจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก และ 3) การอนุรักษ์ข้าวแบบดั้งเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรณานุกรม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสีเขียว รู้จัก สัมผัสจริง กับพื้นที่สีเขียวทั่วไทย. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2561, จาก AGRO-tourism-BOOK-THAI pdf.

กฤติยา จักรสาร. (2545). การส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านพฤกษศาสตร์ให้แก่มัคคุเทศก์และนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณค่าทางการท่องเที่ยว. (การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2560, จาก http://tourism- dan1.blogspot.com.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 – 2554 และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 – 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จิรานุช โสภา และคณะ. (2560). การพัฒนากลุยุทธ์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยหินดำ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. (งานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต).

ถิรพร แสงพิรุณ. (2555). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร–นครสวรรค์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต).

ถิรพร แสงพิรุณ. (2560). ตำราการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.

นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ. (2560). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านดงเย็นในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (2), 2161-2172.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร. เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (21 มิถุนายน 2560). นายกฯ เปิดปาฐกถาพิเศษ ไทยแลนด์ 4.0 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข่าวการเมือง. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2561, จาก https://hilight.kapook.com

ภัทร์อาภรณ์. (2561. สัมภาษณ์). ปัญหาของข้าวไร่กะเหรี่ยง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2561). เอกสารสรุปผลการประชุมโครงการระดมสมองและประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการผลิตข้าวปลอดภัยในจังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี).

มูลนิธิกระจกเงา. (2561). ชนเผ่ากะเหรี่ยงและประวัติความเป็นมา: โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2561, จาก http://www.hilltribe.org.

ราณี อมรินทร์รัตน์. (2560). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: CBT. สืบคนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.cbt-i.or.th.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2555). การดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ศึกษา ลุ่มน้ำท่าจีน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). การศึกษาผลกระทบของราคาส่งออกข้าวไทยและประเทศคู่แข่งที่มีต่อความต้องการนำเข้าข้าวจากไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

Harris, R & Vogel, D. (2003). E-Commerce for Community-Based Tourism in Developing Countries. Hong Kong New Jersey. New Jersey Department of Agriculture. the State University of New Jersey, NJ.

Khamung, R. (2015). A Study of Cultural Heritage and Sustainable Agriculture Conservation as a Means to Develop Rural Farms as Agritourism Destinations. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 15(3), 1-35.