พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี -

Main Article Content

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย
ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ
ภูริวัจนน์ เดชอุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย (2) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวและการรับข้อมูลของนักท่องเที่ยวชาวไทย (3) ศึกษากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยสนใจและลักษณะสิ่งดึงดูดใจเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกลับมาเที่ยวซ้ำ และ(4) สังเคราะห์กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวทางการสื่อสารกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และแนวทางการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธี  การเชิงปริมาณเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี จำนวน 500 ตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA ส่วนประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธีการเชิงคุณภาพเป็นตัวแทนบริษัทจัดนำเที่ยวที่มีรายการนำเที่ยวชุมชนหรือรายการนำเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จำนวน      3 ตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องการวิจัย และใช้เทคนิคการจำแนกชนิดข้อมูลระดับจุลภาคและการวิเคราะห์สรุปอุปนัยในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรีทุกช่วงอายุมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชัดเจนมาก โดยเฉพาะช่วงอายุ 38 – 47 ปีและ 48 ปี ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวพร้อมกับครอบครัวหรือคนที่คุ้นเคยและนิยมสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยวจากเว็บไซต์ บล็อก และจากเพื่อน/ญาติ ข้อมูลที่ต้องการมากที่สุด คือ ราคาหรือค่าใช้จ่ายของกิจกรรม อาหาร และสินค้าท้องถิ่น นักท่องเที่ยวชาวไทยสนใจกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวบ้าง การมีปฏิสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน ส่วนลักษณะสิ่งดึงดูดใจเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้กลับมาเที่ยวซ้ำนั้น พบว่า บรรยากาศ ทิวทัศน์ หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากที่อื่น ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในจังหวัดจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี ดังนั้น กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตลาดเป้าหมายหลักของทั้งสามจังหวัดจึงเป็นนักท่องเที่ยวที่มีอายุ 38 – 47 ปีและ 48 ปี ขึ้นไป ซึ่งเดินทางพร้อมครอบครัวหรือคนที่คุ้นเคย เน้นการสื่อสารด้วยเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ และควรให้ความสำคัญกับสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวผ่านองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวซ้ำ รวมถึงพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่สะท้อน  อัตลักษณ์ของชุมชนและสอดคล้องกับความสนใจของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560 – 2564. กรมการท่องเทียว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2556). การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (รายงานผลวิจัย). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จิราพร คงรอด. (2563). ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนล้ำคลองป่าพะยอม – คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2) พฤษภาคม -สิงหาคม 2563, 100 – 116.

ชื่นสุมล บุนนาค. (2563). การวิเคราะห์เส้นทางความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวไทยที่มีต่อรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2563, 155 – 183.

ณักษ์ กุลิสร์, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และรัตนา แสงจันทร์. (2558). แผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการบนฐานข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 มกราคม - ธันวาคม 2558, 51-65.

ทิศทางการท่องเที่ยวไทย. (2563). ทิศทางการท่องเที่ยวไทยหลังวิกฤติโควิด 19 ใน ชาคริต ปิตานุพงศ์. (บ.ก.), รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, 1(4) กรกฎาคม – กันยายน 2563, 42 – 53. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธันยา พรหมบุรมย์ และ นฤมล กิมภากรณ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย: เชียงใหม่ ลาพูน ลำปางแม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1) มกราคม – มิถุนายน 2558, 71-87.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย, อรช กระแสอินทร์ และภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2560). Local Neo SME การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กระทรวงมหาดไทย.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเกษียณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 35-43.

พุทธพร โคตรภัทร ละเอียด ศิลาน้อย และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ Alex&er จังหวัดอุบลราชธานี. (วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี), 10(2) กรกฎาคม - ธันวาคม 2562, 158 – 171.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558. (1005 – 1014). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุดแดน วิสุทธิ ลักษณ์, พิเชฐ สายพันธ์, อรอุมา เตพละกุล และ ธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). นิยามศัพท์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. รายงานการประชุมคณะทำงานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Brain Bank (CTBB) ประจำปี พ.ศ. 2564.

อรทัย มูลคำ. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1) มกราคม – เมษายน 2563, 130 -144.

Bailey, K.D. (1987). Methods of Social Research. 3rd Edition, the Free Press, New York.

Caldito, L. A., Dimanche, F. & Ilkevich, F. (2015). Tourist behaviour and trends. https://www.academia.edu/25114825/Tourist_Behaviour_&_Trends

Cheunkamon, E., Jomnonkwao, S. & Ratanavaraha, V. (2020). Determinant factors influencing Thai tourists’ intentions to use social media for travel planning. Sustainability, 12(18), 7252. https://doi:10.3390/su12187252

Choibamroong, T. (2006). Knowledge of tourists' behavior: A key success factor for managers in tourism business. International Journal of Tourism Research, 1, 1-8. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2006/Teardchai.pdf

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.

Collins, D. & Tisdell, C. (2002). Gender and differences in travel life cycles. Journal of Travel Research, 41, 133-143. https://doi.org/10.1177/004728702237413

Juvan, E., Gomezelj, O., D. & Maravic, M. U. (2017). Tourist behaviour: An overview of models to date. In Laporsek, Suzana, Gomezelj Omerzel, Doris & Sedmak, Suzana (Eds.) The Joint International Conference (23 – 33). Univerrsity of Primorska Press. http://www.hippocampus.si/ISBN/978-961-7023-71-8/2.pdf

Kara, N. S. & Mkwizu, H. K. (2020). Demographic factors & travel motivation among leisure tourists in Tanzania. International Hospitality Review, 34(1), 81-103. https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/IHR-01-2020-0002/full/pdf?title=demographic-factors-&-travel-motivation-among-leisure-tourists-in-tanzania

Lee, CF., Ou, WM., & Huang, HI (2009). A study of destination attractiveness through domestic visitors’ perspectives: The case of Taiwan’s hot springs tourism sector. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 14(1), 17–38. https://doi.10.1080/10941660902727991

Leiper, N. (1997). Tourism management. RMIT Press.

Ma, A., Chow, A., Cheung, L., Lee, K. & Liu, S. (2018). Impacts of tourists’ socio-demographic characteristics on the travel motivation & satisfaction: The case of protected areas in South China. Sustainability, 10(10), 3388. https://doi.org/10.19044/esj.2020.v16n29p192

Moscardo, G., Morrison, A., Pearce, P., Lang, C. & O’Leary, J. (1996). Understanding vacation destination choice through travel motivation and activities. Journal of Vacation Marketing, 2(2), 109-122. https://doi.org/10.1177/135676679600200202

Olson, O. R. & Lvanov, S. (2010). Creative tourism business model and its application in Bulgaria. https://www.researchgate.net/publication/228257477_Creative_Tourism_Business_Model_&_its_Application_in_Bulgaria

Piboonrungroj, P. & Sangkakorn, K. (2013, May 25 - 28). Tourism logistics management: A case of cultural creative tourism in Thailand. [Paper Presentation]. World Conference on Hospitality, Tourism and Event Research 2013. Bangkok, Thailand. https://www.academia.edu/17383558/TOURISM_LOGISTICS_MANAGEMENT_A_CASE_OF_CULTURAL_CREATIVE_TOURISM_IN_THAILAND

Richards, G. (2011). Creativity and Tourism: The state of the art. Annals of Tourism Research, 38(4), 1225-1253.https://www.researchgate.net/publication/241854896_Creativity_&_Tourism_The_State_of_ the_Art/link/554e50bf08ae12808b365007/download

Richards, G. & Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture. Tourism Management, 27, 1408-1413. https://www.researchgate.net/publication/223801574_Developing_Creativity_in_Tourist_Experiences_A_Solution_to_The_Serial_Reproduction_of_Culture

Richards, G. & Raymond, C. (2000). Creative tourism. ATLAS News, 23, 16-20. https://www.researchgate.net/publication/254822440_Creative_Tourism

Salman, D., & Uygur, D. (2010). Creative tourism and emotional labor: An investigatory model of possible interactions. International Journal of Culture, Tourism & Hospitality Research, 4(3), 186-197. https://doi.10.1108/17506181011067583

Swarbrooke, J., & Horner, S., (2007). Consumer Behavior in Tourism (2nd ed.). Butterworth-Heinemann.

Tan, S. K., Kung, S. F., & Luh, D. B. (2013). A model of 'creative experience' in creative tourism. Annals of Tourism Research, 41, 153-174. https://doi.org/10.1016/j.annals.2012.12.002

UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism discussion. International Conference on Creative Tourism. Santa Fe, New Mexico, USA. http://unesdoc.unesco.org/images/0015/001598/159811E.pdf

Weaver, D., & Oppermann, M. (2000). Tourism management. John Wiley & Sons.

Woyo, E. (2018). An assessment of brand Zimbabwe’s competitiveness & attractiveness as a tourism destination: Doctoral Dissertation Summary. European Journal of Tourism Research, 20, 149-152. https://doi.org/10.54055/ejtr.v20i.350

Um, S. & Crompton, J. (1990). Attitude determinants in tourism destination choice. Annals of Tourism Research, 17, 432-448. https://doi.org/10.1016/0160-7383(90)90008-F