การท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ Community-based Tourism studies in the Southern Thai context: A systematic literature review

Main Article Content

ชิดชนก อนันตมงคลกุล
นิติพงษ์ ทนน้ำ

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ได้ประยุกต์กระบวนการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจาก Pickering and Byrne (2014) และมุ่งวิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาวิจัยด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเน้นบริบทการศึกษาชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยกำหนดเกณฑ์การรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากบทความด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เผยแพร่ในวารสารฐานข้อมูลวิจัยในการสืบค้นจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และกำหนดเลือกเฉพาะวรรณกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากวารสารที่มีจุดมุ่งหมายและกรอบการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวบริการเป็นหลักเท่านั้น พบว่า นักวิจัยกลุ่มนี้ได้ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา นครศรีธรรมราช สตูล และจังหวัดนราธิวาส สามารถจำแนกหัวข้อการศึกษาวิจัยได้สี่ประเด็นหลัก คือ 1) การศึกษาศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในบริบทพื้นที่ต่าง ๆ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 4) ผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้ ค้นพบช่องว่างทางการวิจัยประเด็นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลายประเด็น รวมถึงการประยุกต์ใช้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียนสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตภณ แก้วสง่า, บุษบา สุธีธร, และอภิชญา อยู่ในธรรม. (2563). การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 14-28.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ. เข้าถึง [ออนไลน์] จาก https://www.thaihealth.or.th วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565.

เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่, และสรัญญา ศรีทองมาศ. (2562). ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของโฮมสเตย์จากมุมมองผู้นำชุมชนโฮมสเตย์ 4 ภูมิภาคของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(3), 106-120.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://opendata.data.go.th/dataset/item_db41976b-78b5-4c3d-b13d-223414de8c2b

จุฑามาส เพ็งโคนา, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, อำนาจ รักษาพล, บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์ และเทพินทร์ ภพทวี. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสำ หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(1), 38- 51.

เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, อำนาจ รักษาพล, เกศินี มนต์พิพัฒน์, ศรันญา บัวอุไร, วีรภรณ์ โตคีรี, และปทิดา โมราศิลป์. (2561). ความมั่นคงทางอาหารแห่ลงท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38(2), 50-64.

ปรัชญากรณ์ ไชยคช, นราวดี บัวขวัญ, และภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2559). ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบ กรณีศึกษาหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จังหวัดนราธิวาส. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 169-176.

ปิยธิดา ปาลรังษี และกุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(2), 99-110.

ปรีดา นัคเร, ชนิดา รอดหยู่, และปัญจพร เกื้อนุ้ย. (2563). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวอำเภอนบพิตำตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมช. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 40(2), 118-131.

ทิพย์สุดา พุฒจร และฐิติมา เวชพงศ์. (2563). การยกระดับการจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 56-73.

รัชดา จิรธรรมากุล. (2559). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมในชุมชนบ้านแขนน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. กระแสวัฒนธรรม, 17(31), 3-17.

ห้าวหาญ ทวีเส้ง, ปานแพร เชาวน์ประยูร, และคณะ. (2563). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดสตูล. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(1), 3-16.

อัครพงศ์ อั้นทอง, และอริยา เผ่าเครื่อง. (2564). ทุนของชุมชนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 8(1), 1-18.

อำนาจ รักษาพล, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, จุฑามาส เพ็งโคนา, ชลดรงค์ ทองสง, และ บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดระบบโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(1), 23-37.

อำนาจ รักษาพล, เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, และ อุทัยวรรณ ศรีวิชัย. (2563). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 50-70.

Pickering, C., & Byrne, J. (2014). The benefits of publishing systematic quantitative literature reviews for PhD candidates and other early-career researchers. Higher Education Research & Development, 33(3), 534-548.