การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท A MODEL OF CREATIVE TOURISM DEVELOPMENT FOR CULTURAL PRESERVATION OF LAO KLANG IN KUD JOK, CHINAT PROVINCE.

Main Article Content

ฐิตาภา บำรุงศิลป์
รัศมี อิสลาม
พิศาล แก้วอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท 2. เพื่อศึกษาศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่ออนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบและกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท


            เป็นการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 5 ราย ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 5 ราย และการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน พร้อมด้วยการจัดกิจกรรมให้เป็นลักษณะ DIY เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยแบบสอบถาม จำนวน 60 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนลาวครั่งบ้านกุดจอกเป็นกลุ่มที่มีเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่โดดเด่นและมีทุนทางสังคมที่น่าสนใจ ประกอบไปด้วย ทุนมนุษย์ ทุนสถาบัน ทุนภูมิปัญญาและวัฒนธรรม โดยชุมชนเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้การอนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมของลาวครั่ง บ้านกุดจอกให้ประสบผลสำเร็จ คือ ทุกคนจะต้องร่วมกันในการวางแผน การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ และมีการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนให้มากที่สุด สำหรับศักยภาพ พบว่า สำหรับศักยภาพด้านท่องเที่ยว ชุมชนมีศักยภาพในด้านการจัดการท่องเที่ยว 3


ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมด้านการเรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณีแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง


            สำหรับรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท ผลจากการวิเคราะห์ร่วมระหว่างการศึกษาที่กล่าวมาจะประกอบไปด้วย มีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน ขั้นที่ 2 ต้องเสริมและยก ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ขั้นที่ 3 การจัดกิจกรรมใหม่ ๆ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เชิงผสมผสานวิถีถิ่นและวิถีไทยเข้าด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ และขั้นที่ 4 การท่องเที่ยวควรจะเป็นไปในลักษณะการสร้างสรรค์ที่จะส่งผลบวกและเกิดประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนให้มากที่สุด


 


คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การอนุรักษ์วัฒนธรรม, รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นาฬิกอัติภัค แสงสนิท. สัมภาษณ์รายการเดินหน้าประเทศไทย. วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2558.

บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

มุทริกา พฤกษาพงษ์. (2555). “เที่ยวอย่างเข้าใจไปกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.” ผู้จัดการออนไลน์.

ลลนา คลังชำนาญ. (2552). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบบูรณาการในจังหวัดชัยภูมิ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริรัตน์ โตสัมพันธ์มงคล. (2549). การวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เครื่องมือสำคัญนำไปสู่ชุมชนยั่งยืน. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

อุดม รื่นพานิช. (2560). คุณป้านักประดิษฐ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2561 จาก www. thairath.co.th/content/745122.

Richards, G. (2011). Creativity and tourism: the state of the art. Annals of Tourism Research. 38: 1225-1253.

Raymond, C. (2007). “Creative Tourism New Zealand: The practical challenges of developing creative tourism.” In Greg Richards and Julie Wilson (Eds.). Tourism, Creativity and Development. New York : Routledge.