การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยว ด้วยหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

วาสนา ทองตัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกเขตการท่องเที่ยวตามหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 9 แห่ง ภายในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ จุดชมวิวถ้ำผาหงษ์  จุดชมวิวภูค้อ  ถ้ำใหญ่น้ำหนาว(ภูวาริน)  น้ำตกเหวทราย  ป่าเปลี่ยนสี  ภูผาจิต(ด่านอีป้อง) สวนสนบ้านแปก(ดงแปก)  สวนสนภูกุ่มข้าว และที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกเขตการท่องเที่ยวโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากถนนสายหลักและสายรอง ขนาดพื้นที่ป่าธรรมชาติที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน และประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน  การศึกษาประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยว ใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และหาค่าเฉลี่ยของประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวได้รับในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว  ผลการศึกษาพบว่า  อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวจำแนกเขตการท่องเที่ยวด้านกายภาพได้ 4 เขต คือ พื้นที่ธรรมชาติสันโดษ(P) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 514.12 ตร.กม. พื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์(SPM) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 411.40 ตร.กม. พื้นที่ธรรมชาติดัดแปลงมีถนน(RN-M) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 86.69 ตร.กม. พื้นที่ชนบท(R) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 6.54 ตร.กม. สำหรับผลการศึกษาประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยวพบว่า  มีความสอดคล้องกับด้านกายภาพ 2 แห่ง คือ จุดชมวิวถ้ำผาหงส์และจุดชมวิวภูค้อ  และไม่สอดคล้อง 2 แห่ง คือ ถ้ำใหญ่น้ำหนาว(ภูวาริน)และที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จากการวิเคราะห์ผลการจำแนกเขตการท่องเที่ยวโดยหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละเขตให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมทั้งปัจจัยด้านกายภาพและด้านสังคม โดยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว

Abstract

          The purpose of this study is to classify tourism zoning by using the concept of the Recreation Opportunity Spectrum in Nam Nao national park, Petchabun province, covering the area of Phu Khor View Point, Tam Pa Hong View Point, Tam Yai Nam Nao(Phu Warin), Haw Sai Waterfall, Pha Plean Sei, Phu Pha Jit(Dan E Pong), Suan Son Bhan Pak(Dong Pak), Suan Son Phu Kum Kao, Nam Nao National Park Visitor Center. The Geographic Information System(GIS) was employed to classify tourism zoning based on three factors : distance from the communicative route, size of national area and type of land use. The study of the tourists experiences was implemented using survey questionnaires. Accidental sampling method was employed with sample size of 400 and analysis of tourists experiences for each zone was carried out using descriptive statistics to assess means and percentages. As the results 4 tourism opportunity spectrum zones was found : Primitive(P), Semi-Primitive Motoried(SPM), Roaded Natural-Modified(RN-M) and Rural(R). The coverage areas were 514.12 Km2, 411.40 Km2, 86.69 Km2, and 6.54 Km2 respectively. Visitor’s experience found at Tam Pa Hong View Point and Phu Kor View Point located and experience in RN-M area, Tam Yai Namnao(Phu Warin) and Nam Nao National Park Visitor Center located in RN-M area was R experience. The ROS classes of the study are beneficial for a suggestion desired future condition and will function as guildlines to assist in site specific planning to manage the effect of tourists and conservation of the resources.

Article Details

บท
บทความวิจัย