ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร 2) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร และ3)เพื่อหาแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ คือ ผู้นำชุมชน มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และนักเรียน นักศึกษา กลุ่มตัวอย่างสำหรับการจัดประชุม คือ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น และกลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างสำหรับแบบสอบถาม ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงไชย อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า
สถานภาพส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย พบว่า เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.25 เพศหญิง ร้อยละ 50.75 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 28.75 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 47.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 60.75มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 45.00 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 36.0 ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งการเป็นผู้นำชุมชน ร้อยละ 68.75
การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวของอุทยานเขาพระวิหารในภาพรวม พบว่า คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55
ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหารของชุมชนอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษด้านเศรษฐกิจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหารของชุมชนอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษด้านสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหารของชุมชนอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษด้านวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 และผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหารของชุมชนอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษด้านสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68
Abstract
This study intended to 1) examine the current conditions of Prasat Khao Phra Wihan and 2) tourism impacts from conflicts betweenThailandandCambodiain case of Prasat Khao Phra Wihan and 3) to find out the guidelines of tourism development from conflicts betweenThailandandCambodiain case of Prasat Khao Phra Wihan. The sample group in this study was divided into three groups, namely, interview group (community leaders, local guides and students), sample group for meeting (community leaders, local sages, tourists), and sample group for questionnaires (400 local people living in Phumisron village Saothongchai sub-district, Gantralak, district, Si Sa Ket province.
Referring to the sample group, there were 49.25% of males and 50.75 of females. Most of them were 41 – 50 years old (28.75%). Mostly they finished primary level (47%) and were married (60.75%). They were farmers (45%) and earned per month 10,001-20,000 bath (36%). Most of them were not community leaders (68.75%).
In aspect of local people’s participation on tourism at Prasat Khao Phra Wihan, it was found that local people participated into the local tourism in high level or at score 4.55 on average scales.
In addition, it was found that there were impacts from conflicts between Thailand and Cambodia in case of Prasat Khao Phra Wihan in Gantralak, district, Si Sa Ket province on economy in highest level (= 4.79), impacts from conflicts between Thailand and Cambodia in case of Prasat Khao Phra Wihan in Gantralak, district, Si Sa Ket province on society in high level (= 4.07), impacts from conflicts between Thailand and Cambodia in case of Prasat Khao Phra Wihan in Gantralak, district, Si Sa Ket province on culture in high level (=3.81) and impacts from conflicts between Thailand and Cambodia in case of Prasat Khao Phra Wihan in Gantralak, district, Si Sa Ket province on environment in high level (=3.68).