วัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรีในบริบทของการท่องเที่ยว

Main Article Content

สัจจา ไกรศรรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อการศึกษาวัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรีในบริบทของการท่องเที่ยว ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความคงอยู่ของวัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการนำวัฒนธรรมของ 8 ชาติพันธุ์มาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิควิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล สัมภาษณ์กลุ่มบุคคล และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การบรรยายจะเน้นเนื้อหาตามที่ปรากฏ ไม่เน้นการตีความหรือการหาความหมายที่ซ่อนไว้เบื้องหลัง  

    ผลการศึกษาเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของ 8 ชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี ผู้วิจัยแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 กลุ่มคือ วัฒนธรรมที่เคยปรากฏในอดีตมีการจดบันทึกบอกต่อ แต่ปัจจุบันได้เลือนหายไปแล้ว  กลุ่มที่สองได้แก่วัฒนธรรมที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันแต่อาศัยวาระ หรือโอกาสพิเศษ ในการแสดงออกเช่น วัฒนธรรมการแต่งกายที่มีการแต่งเฉพาะโอกาสพิเศษ ในช่วงเวลาปกติ จะแต่งกายตามสมัยนิยม หรือภาษาพูดที่จะมีการสื่อสารเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุหรือ ญาติมิตร เป็นต้น และวัฒนธรรมที่มีการผลิตซ้ำสืบทอดมาถึงปัจจุบัน  เช่น การบริโภคอาหารพื้นถิ่น งานประเพณีสงกรานต์มอญ สงกรานต์ลาวเวียง สงกรานต์ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ประเพณีตรุษจีน สารทจีน  หรืองานประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงเป็นต้น  ประเพณีและวัฒนธรรมที่มีการผลิตซ้ำ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมและงานประเพณีเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการเลือกสรรจากคนในชุมชนที่จะสืบสานสืบทอด  จึงมีการผลิตซ้ำให้คงอยู่ถึงแม้นว่า คุณค่า ความเชื่อ และความหมายแฝงที่มีในอดีตจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จึงกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมของ 8 ชาติพันธุ์จังหวัดราชบุรีมีความคงอยู่ในรูปของการปรับเปลี่ยน และการผสมผสานทางวัฒนธรรม

            แนวทางการนำวัฒนธรรม 8 ชาติพันธุ์มาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ควรมุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมหรือประเพณีที่ยังคงมีอยู่ในชุมชน เช่น งานประเพณีสงกรานต์ชาติพันธุ์ การใช้อาหารพื้นถิ่นหรืออาหารชาติพันธุ์เพื่อการท่องเที่ยว งานประเพณีตรุษจีน  หรือการท่องเที่ยวสัมผัสวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในงานประเพณีผูกแขนเรียกขวัญวันกินข้าวห่อ ประเพณีเหล่านี้ล้วนมีจุด

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

*ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

 

เชื่อมต่อสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความหมาย อารมณ์ ความรู้สึกที่สามารถส่งผ่านไปยังนักท่องเที่ยวเป้าหมายเพื่อใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจให้มาเที่ยวชมในพื้นที่และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมเหล่านั้นได้  การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวควรเริ่มต้นที่งานประเพณีสงกรานต์ชาติพันธุ์เนื่องจากตรงกับเทศกาลงานประเพณีหลักของประเทศ เป็นช่วงวันหยุดยาว เพื่อการเฉลิมฉลอง การจัดงานประเพณีสงกรานต์ชาติพันธุ์ที่คงความเป็นดั้งเดิม จึงเป็นทางเลือกให้กับคนในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวที่สนใจการเล่นสงกรานต์เชิงอนุรักษ์ได้เข้ามาร่วมเล่นสงกรานต์และเรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรม กับคนในพื้นที  พร้อมกับการรือฟื้นการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ รวมกับการจัดแสดงอาหารพื้นถิ่น  เป็นการนำงานประเพณีและวัฒนธรรมมาต่อยอด เพิ่มค่า หาจุดต่างให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัดและยังเป็นการฟืนฟู อนุรักษ์ประเพณีที่สูญหายให้กับมามีพื้นที่ในการแสดงออกอีกครั้งหนึ่ง 

 

Abstract

 

                        A research on ‘The Culture of 8  Ethnographic Groups  in Ratchaburi Province in a Context of Tourism’ aims to investigate the state of existence of culture from 8 ethnographic groups in Ratchaburi province and to create guidelines in utilizing culture of 8 ethnographic groups to promote tourism. This qualitative research employed both individual and group interview, and a participatory observation as its research tools. Data were analyzed by manifest content analysis technique and will not focus on interpretation or latent content analysis.

            According to the research finding, culture of 8 ethnographic groups could be divided into 3 categories: 1) culture that has been recorded but becomes extinct; 2) culture that still exists but will be practiced on special occasions or events, for example, auspicious traditional dress on special days while dressing contemporarily daily or special dialects communicating among elders or relatives; and 3) repeating culture inherited until the present days, for instance, local food, Mon Songkran festival, Lao Vieng Songkran festival, Thai-Karen Songkran festival, Chinese New Year, Chinese 10th lunar month festival or Thai-Karen spirit soothing ceremony. Repeating festivals and culture revealed that these practices have been accepted and selected by local inhabitants to inherit. They are conserved even though value, belief and implication in the past have been changed periodically. In conclusion, culture of 8 ethnographic groups in Ratchaburi province has been maintained in the form of adapted and integrated culture.

To utilize culture of 8 ethnographic groups to promote tourism, ones should focus on living culture in the community such as ethnic Songkran festival, local or ethnic gastronomy, Chinese New Year festival or Thai-Karen spirit soothing ceremony. These traditions threaded relationship of belief, meanings and emotion to render to targeted tourists in order to attract them to visit and allow them to directly experience these cultural activities. To arrange tourism activity, ethnic Songkran festival should be the first to begin as it corresponds to the main national Songkran festival and it is a long holiday. It is, then, an option for community or tourists who are interested in joining conservative Songkran festival to learn and take part with local people. Moreover, local folks should be revived and local food should be displayed. These actions are to bring out traditions and culture to top up, to add value and to differentiate tourism in the province, including to revive and to conserve dying culture to have its ground to public.

Keyword  Ethnographic tourism : culture tourism : Ratchaburi

Article Details

บท
บทความวิจัย