การศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยอารยธรรม ทวารวดี – ขอม ในจังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยอารยธรรมทวารวดี – ขอม ในจังหวัดราชบุรี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรมทวารวดี – ขอม ในจังหวัดราชบุรี จุดเด่นและศักยภาพความพร้อมของสถานที่แหล่งท่องเที่ยว (2) จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว ทดลองนำเที่ยวและประเมินผลเส้นทาง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเชิงคุณภาพเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) การสำรวจ และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า
ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรมทวารวดี – ขอม ในจังหวัดราชบุรี มีแหล่งท่องเที่ยว ที่ปรากฏร่องรอยอารยธรรมทวารวดี – ขอม จำนวน 9 แหล่ง ที่ได้มีการค้นพบร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่าอารยธรรมทวารวดี – ขอม นั้นมีอยู่จริง ส่วนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุและศาสนสถาน ที่มีความเหมาะสมต่อการจัดการให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสะดวกต่อการเดินทางเข้าถึงได้ ด้วยรถโดยสารหรือรถทัศนาจร เมื่อนำแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏร่องรอยอารยธรรมทวารวดี - ขอม ในจังหวัดราชบุรี มาจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวได้เส้นทาง 2 แบบ คือ เส้นทางการท่องเที่ยวแบบวันเดียว (One day trip) จำนวน 5 เส้นทาง และเส้นทางท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน (Two days trip) จำนวน 4 เส้นทาง ข้อเสนอแนะในการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว คือ ควรนำกิจกรรมที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่ได้รับความสนใจเข้าไปเสริมในเส้นทาง จะทำให้เส้นทางมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับตามความต้องการของนักท่องเที่ยวและฤดูกาล
คำสำคัญ เส้นทางท่องเที่ยว อารยธรรมทวารวดี อารยธรรมขอม จังหวัดราชบุรี
Abstract
This article is a part of the research, a study project to develop a tourism route in Ratchaburi province to visit Dvarvati and Kamer sites. The purpose of this research aim 1) to study the tourism resource about the attractions and the potentials. 2) to make a tourism routing trial and evaluate it. This research is a qualitative research adopting in-depth survey, interview, focus group, and descriptive statistic as tools to collect data and analyzed the data by content analysis technique.
The results found that :
There were 9 attractions regarding Dvarvati and Kamer culture that could be traced related to Dvarvati and Kamer civilization, these finding the discovery of trace evidence of visit Dvarvati and Kamer civilization. Most resources were historical monuments, artifacts and religious related places. They are suitable to promote to be learning sites and are easy to access.
The Tourism route in Ratchaburi province to Daravati and Kamer sites can be created into 2 programs: 5 routes of excursion trip and 4 routes of two-day trip. The suggestions in promoting these routes are to allow more community-participation activities or to enhance by adding more interesting attractions. However, the program created should be based on tourists' demand and season.