กลยุทธ์การสื่อสารทางการท่องเที่ยวของหมู่บ้านคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

จิตรฑิมา ศรีพลชุม
กมลพร ลาดมี
เมษ์ธาวิน พลโยธี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารทางการท่องเที่ยวและนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารและวิธีการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของหมู่บ้านคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี  ซึ่งการดําเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต จำนวน 5 คน


ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวของหมู่บ้านคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ การสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว, การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ, การสื่อสารเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง และการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว อีกทั้งกลยุทธ์การสื่อสารและวิธีการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประกอบด้วย กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว, กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ, กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง และกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=599
2. ทิพย์สุดา ปานเกษม. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน, การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (หน้า 155-176)
3. นรินทร์ อนันทวรรณ. ประธาน กลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต. (21 กันยายน 2564). สัมภาษณ์
4. บุษบา หินเธาว์. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
5. บุษบา สุธีธร. (2560). ความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างบุคคล. วารสารนักบริหาร, 37(1), 54-67.
6. พนม คำเขียว. หัวหน้าฝ่ายรถอีแต๊ก กลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต. (21 กันยายน 2564). สัมภาษณ์
7. พเชษฎ์ ศรีสุริยจันทร์. เลขาและเหรัญญิก กลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต. (21 กันยายน 2564). สัมภาษณ์
8. พัชนีย์ ธระเสนา. (2558). พฤติกรรมองค์กรและการจัดการทรัพยาการมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก http://home.dsd.go.th/kamphaengphet/km/Communication.html
9. เรือง พรหมแสวง. หัวหน้าฝ่ายวัฒนธรรม กลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต. (21 กันยายน 2564). สัมภาษณ์
10. วชิรญาณ์ เจริญทรัพย์. (2555). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 5(1), 639-648.
11. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbt/
12. ใสว อรรคเสิญ. สมาชิกฝ่ายรถอีแต๊ก กลุ่มท่องเที่ยวคีรีวงกต. (21 กันยายน 2564). สัมภาษณ์
13. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/
14. อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2556). องค์ประกอบของกระบวนการติดต่อสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. จาก http://dataofelementarybybam.blogspot.com/2017/07/blog-post_59.html
15. อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ และณัฐนิชา กรกิ่งมาลา. (2561). กลยุทธ์และเครือข่ายการสื่อสารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(2), 221-247.