การพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต

Main Article Content

สิรินภา จงเกษกรณ์
รศ.ดร.กนกกานต์ แก้วนุช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยว ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 3. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกลุ่ม Gen Y ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนในชุมชนกลุ่ม Gen Y (อายุระหว่าง 23-40ปี) ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต จำนวน 300 คน โดยการใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ W.G. Cochran (1953) และใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ควบคู่กับวิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลประโยชน์จากการเข้าร่วม และคนในชุมชน กลุ่ม Gen Y ในย่านเมืองเก่าภูเก็ตมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับมาก ในการรับผลประโยชน์จากการมีธุรกิจเป็นของตนเอง เช่น ร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหาร ที่พัก เป็นต้น มีส่วนร่วมในระดับปานกลางในการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยว และมีส่วนร่วมในระดับน้อย ในการติดตามและประเมินผลปัญหาที่เกิดจากการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สิรินภา จงเกษกรณ์, คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นางสาวสิรินภา จงเกษกรณ์ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

คณะการจัดการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

References

1.กนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 110-127.
2กนกกานต์ แก้วนุช. (2562). การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนการท่องเที่ยวเมืองรองในการพัฒนา และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวพื้นบ้านสู่ความยั่งยืน. เอกสารนำเสนอใน การประชุมวิ.ชาการระดับชาติในวันคล้ายวันสถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2562, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
3.กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560-2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.
4.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521
5.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.กาญจนา เงารังษี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน Education for Sustainable Development (ESD). วารสารสมาคมวิจัย, 21(2), 13-18.
7.เกื้อกูล ปุ๊ดผาม. (2557). การมีส่วนรวมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
8.ณรงค์ ขูรูรักษ์. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานไดโนเสาร์ของประชาชน ในตำบล โนนบุรี อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 4(2), 75-89.
9.ณัฐพร ดอกบุญนาค. (2553). ศักยภาพของชุมชนในการมีส่วนร่วมด้านการจัดการการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ชุมชนในเทศบาลตำบลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
10.ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของ โรงเรียนล้อมแรดวิทยา อําเภอเถิน จังหวัดลําปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
11.เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา: สถาบันพระปกเกล้า.
12.ธีราพร ทองปัญญา และคณะ. (2558). จิตสำนึกต่อการพัฒนาชุมชนของเยาวชน: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอาสาสมัครพัฒนาชุมชนห้วยหมอนทอง. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 36(3), 483-497.
13.พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: เจริญผล.
14.พวงรัตน์ ทวีรัตน. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์, และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2555). ศักยภาพชุมชนด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว แก่แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 254-264.
16.วิลาสินี ไกรมาก, และฐานิต ศาลติกุลนุการ. (2559). รายงานผลการดำเนินงาน (After Action Report) การดำเนินงานการจัดทำชุดองค์ความรู้ การดำเนินงานของ อพท. ภายใต้เกณฑ์ GSTC. สืบค้นจาก https://tis.dasta.or.th/dastaknowledge/wp-content/uploads/2018/10/gstc-criteria.pdf
17.ศลิษา หมัดลัง. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาชุมชนบ้านคลองสน กิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
18.ศิรินทร์ สังข์ทอง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
19.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับข้าราชการ. สืบค้นจาก http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/04/ยุทธศาสตร์ชาติ-ฉบับราชการ.
20.สุชาดา กรเพชรปาณี และคณะ. (2016). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย คลองอัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 5(2), 118-135.
21.อรอำไพ ศรีวิชัย. (2555). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเวียงฝาง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
22.อารีย์ฏา ถิรสัตยาพิทักษ์, และศิรินทร์ สังข์ทอง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ย่านเมืองเก่าภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1), 1-21.
23.Andersson T.D. & Lundberg E. (2013). Commensurability and sustainability: Triple impact assessments of a tourism event. Tourism management, 37, 99-109.
24.Andrew P., & Stiefel M. (1979). Inguiry in participation a Research Appoach In UNRISD Participation Programme. Geneva.
25.Cochran W.G. (1963). On a simple procedure of unequal probability sampling without replacement. Journal of the Royal Statistical Society: Series B, 24(2), 482-491
26.Cohen J. & Uphoff N.T. (1977). Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation Rural development participation: concepts measures for project design, implementation evaluation.(2).
27.Hanafiah M.H., Jamaluddin M.R., & Zulkifly M.I. (2013). Local community attitude and support towards tourism development in Tioman Island, Malaysia. Procedia-Social Behavioral Sciences, 105, 792-800.
28.Kim K., Uysal M., & Sirgy M.J. (2013). How does tourism in a community impact the quality of life of community residents? Tourism management, 36, 527-540.
29.Kim S., Park E., & Phandanouvong T. (2014). Barriers to local residents’ participation in community-based tourism: Lessons from Houay Kaeng Village in Laos.
30.Likert R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Journal Archives of psychology.
31.Long P.H. (2011). Perceptions of tourism impact and tourism development among residents of Cuc Phuong National Park, Ninh Binh, Vietnam. Journal of Ritsumeikan Social Sciences Humanities, 3(75-92).
32.Phukethotnews. (2561). ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต ได้รับรางวัล มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอาเซียนประจำปี 2561 (ASEAN Sustainable Tourium Award) (28 มกราคม 2561). สืบค้นจากhttps://phukethotnews.net/news/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7/
33.Ruggieri G. & Calò P. (2018). ICT and tourism impacts in islands. Journal Ecocycles, 4(2), 4-11.
34.Stylidis D., A.Biran, Sit J., & Szivas E.M. (2014). Residents' support for tourism development: The role of residents' place image and perceived tourism impacts. Journal Tourism management, 45, 260-274.
35.Wang Y. & Pfister R. (2008). Residents' attitudes toward tourism and perceived personal benefits in a rural community. Journal of Travel Research, 47(1), 84-93.