การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืนของธุรกิจภายใต้วิกฤติโควิด 19

Main Article Content

ขวัญฤทัย เดชทองคำ

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์ในปัจจุบันกับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัส COVID - 19 ที่ยังคงแพร่กระจายอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก ทั้งด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนสภาพสังคมและระบบเศรษฐกิจที่กำลังต้องการการช่วยเหลือและฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้สู่ประเทศไทยเป็นอันดับต้น ๆ แต่ในปัจจุบันต้องหยุดชะงักอันเนื่องมาจากไม่สามารถเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศได้ จึงนำไปสู่การผลักดันและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ ประกอบกับรูปแบบการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องการความท้าทายและประสบการณ์ใหม่จากการเดินทาง ตลอดจนความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการศึกษาเรียนรู้ในคุณค่าของสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สู่ความยั่งยืนภายใต้วิกฤติ COVID - 19 เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยตลอดจนตัวนักท่องเที่ยวเอง ในการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่ การท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยยังคงศักยภาพของความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเข็มแข็งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขวัญฤทัย เดชทองดำ. (2563). ความสำคัญของคุณภาพการบริการสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่องเที่ยวภายใต้วิกฤติ Covid 19. วิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(21), 317–326.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่. คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ. เพรส แอนด์ ดีไซน์.
ประภัทร สุทธาเวศ. (2550). วิวัฒนาการและพัฒนาการการท่องเที่ยว. ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปิรันธ์ ชินโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 250–268.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และวราภรณ์ ปัญญาวดี. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. 1(8), 79–104.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสาร มหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย, 33(2), 331-366.
มนัส สุวรรณ และคณะ. (2541). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบล. In การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2554). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism 21 Thailand). องค์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน22 (องค์การมหาชน).
อารีย์ นัยพินิจ และฐิรชญา มณีเนตร. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวหมู่บ้านบุไทรโฮมสเตย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,:ม.ป.ท.
Adhikary, M. (1995). Management of ecotourism. Srinakarinwirot University.
Goeldner, C.R., and Ritchies, B. J. (2006). Tourism:Principles, practices and philosophies. New Jersey: John Wiley and Sons.
Kattara, H. S. (2015). The impact of employees ’ behavior on customers ’ service quality perceptions and overall satisfaction. 4(2), 1–14.
Ministry of public health. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) Situation in Thailand. Retrieved May 28, 2021, https://covid19.ddc.moph.go.th/th
Ministry of Tourism & Sport. (2020). Tourism Economic review.
Richards, G. (2009). Creative tourism and local development. In: Wurzburger, R., Pattakos, A. and Pratt, S. (eds) Creative Tourism: A global conversation. Santa Fe: Sunstone Press, pp. New Mexico, USA, 78-90.
Richards, G. (2010). Creative tourism and local development. In Wurzburger, R., Aageson, T., Pattakos, A. And Pratt, S. (Eds.). In Creative Tourism A Global Conversation.
Richards, G. (2011). Creativity and tourism: the state of the art Annals of Tourism Research 38:1225-1253.
Tourism Marketing Strategy Division. (2016). TAT Review Thailand Tourism in 2017 Thailand as a perferred destination. E-Journal of Applied, 4(4).
World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) Situation dashboard. Retrieved May 28, 2021, https://covid19.who.int/
World Tourism Organization (UNWTO). (2005). Sustainable development of tourism. Retrieved May 28, 2021, http://sdt.unwto.org/en/content/about-us-d
WTO. (World Tourism Organization). (2016). Tourism, a factor of sustainable development. Retrieved May 28, 2021, http://ethics.unwto.org/.
Zeithaml, V. (1988). Consumer perceptions of price, quality, and value: A means-end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2–22.