การศึกษาความคิดเห็นของชาวญี่ปุ่นที่พำนักในจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชาวญี่ปุ่นที่พำนักในจังหวัดเชียงใหม่ ในการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์ว่าต้องเป็นชาวญี่ปุ่นที่พำนักในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ และมีประสบการณ์ท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในญี่ปุ่น งานวิจัยนี้ออกแบบให้กลุ่มตัวอย่างร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพง 2 วัน 1 คืนเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรง แล้วจัดการสนทนากลุ่มเพื่อเก็บข้อมูล โดยได้ดำเนินการทำกิจกรรมเพื่อเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 3 รอบ แต่ละรอบมีรูปแบบเหมือนกันและมีผู้เข้าร่วม 8-11 ราย รวมทั้งสิ้น 29 ราย ผลการวิจัยประกอบด้วยความคิดเห็นในการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพงใน 4 มิติ ดังนี้ 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจ กิจกรรม และ บริการ: ควรพัฒนาความสะอาด ความปลอดภัย ความเป็นธรรมชาติ การมีส่วนร่วมและการใช้วัตถุดิบจากชุมชน การให้บริการน้ำพุร้อนตามธรรมเนียมญี่ปุ่น และการประชาสัมพันธ์คุณภาพของน้ำแร่ 2) ด้านการเข้าถึง: ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถโดยสารสาธารณะจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงน้ำพุร้อนสันกำแพงทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น 3) ด้านบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม: ควรให้การอบรมด้านการบริการและการสื่อสารแก่บุคลากร 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด: ควรพัฒนาโดยการสื่อสารผ่านสื่อที่หลากหลาย ส่งเสริมการตลาดผ่านเครือข่าย อาทิ การร่วมกับสมาคมเชียงใหม่ลองสเตย์ไลฟ์ ในการประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มชาวญี่ปุ่น และการจัดเทศกาลพิเศษ
Article Details
References
https://www.skphotsprings.com/th/about.
กชพิณ แองเจลีน ชุ่มเย็น. (2556). พฤติกรรมการท่องเที่ยวด้วยตนเองของนักท่องเที่ยวสูงอายุ
ชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษานักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (ศศ.ม.) สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เกศวลีณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และ ณารีญา วีระกิจ. (2562). การประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำพุ
ร้อนอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สู่การพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(3), 1,031-1,051.
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ.
วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 17-30.
จามรี ชูศรีโฉม ปุณยวีร์ ศรีรัตน์ และนิภาพร แซ่เจ่น. (2558). การศึกษาความพร้อมในการส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาอุทยานบ่อน้ำร้อน ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 35(3), 91-114.
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือปฏิบัติการวิจัยประยุกต์เพื่อพัฒนาคน องค์กร
ชุมชน สังคม เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา: ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยและภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัย
เชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 41-43.
แววดาว พรมเสน. (2554). การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสาร มทร.อีสาน, 4(1),
95-102.
สโมสรน้ำพุร้อนไทย. (2560). The Development and Challenges of Hot Spring Resorts &
Spa in Thailand. สืบค้นจาก http://www.thaispaassociation.com
/uploads/file/K.Preecha_11_Sep.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/
staticreport/page/sector/th/17.aspx
อริศรา ห้องทรัพย์. (2557). แนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคทาง
ตอนเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (วท.ม) สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอื้อมทิพย์ ศรีทอง. (2559). น้ำพุร้อน (Onsen): นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและบำบัด
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 179-192.
Buatingpu, Y. (2014, February 5). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น. Retrieved from
https://prezi.com/r0c2l51tn1zh/presentation/
Camilleri, M. A. (2018). The Tourism Industry: An Overview. Travel Marketing, Tourism
Economics and the Airline Product. Switzerland: Springer Nature.
Uthayan, C. (2013, September 15). Japanese Tourist Behavior. โครงการสำรวจทัศนคติและ
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น. Retrieved from https://japanesetourist.worldpress.com/
Demetrioum. (2017). What the Japanese are really like on holiday. The Telegraph.
Retrieved from https://www.telegraph.co.uk/travel/comment/japanese- tourists-stereotupes-and-the-truth/
Embassy of Japan in Thailand. (2018). Statistics on the number of Japanese overseas
residents. Retrieved from https://www.th.embjapan.go.jp/itpr_ja/consular_
zairyu17.html
Goodmacher, G. (2019). Understanding Onsen Culture. Retrieved from
https://www.japanvisitor.com/onsens/understanding-onsen-culture
Jafari, J. & Honggen, X. (2016). Encyclopedia of Tourism. Switzerland: Springer
International Publishing.
Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological,
25(140), 1-55.
Maximilian, C. (2015). The Buyer Black Box – Buyer’s Characteristics – Factors
Influencing the Consumer Buying Behaviour. Retrieved from https://marketing-insider.eu/buyer-black-box/
Nastasi, B. K. & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity
of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.
Statista. (2015). Number of hot springs in Japan 2006-2015. Retrieved from https://www.statista.com/statistics/682636/
TAT Review. (2018). From Past to Present: Thailand – Japan Tourism Exchange.
Retrieved from https://www.tatreviewmagazine.com/article/from-past-to-present-thailand-japan-tourism-exchange/
The World Bank Group. (2018). Population, total – Japan. Retrieved from
https://data.worldbank.org/indicator/SP.POP.TOTL?locations=JP
Tourism Society. (2019). Destination Management. Retrieved from
http://www.tourismsociety.org/page/88/tourism-definitions.htm