การรับรู้ความแออัดและปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความแออัด ของนักท่องเที่ยว บริเวณแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จังหวัดกระบี่

Main Article Content

จิรนันท์ นิสัยหาญ
แสงสรรค์ ภูมิสถาน

บทคัดย่อ

การรับรู้ความแออัดของผู้มาเยือนเป็นตัวชี้วัดที่สาคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความแออัดและปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความแออัดของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะห้อง เกาะผักเบี้ย และเกาะเหลาลาดิง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จังหวัดกระบี่ ทาการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจานวน 600 ตัวอย่าง ทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีการรับรู้ความแออัดในระดับปานกลาง (ร้อยละ 39.83) โดยนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนเกาะเหลาลาดิงมีระดับการรับรู้ความแออัดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เกาะห้อง และเกาะผักเบี้ย ตามลาดับ สาหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความแออัดได้กาหนดตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลต่อการรับรู้ความรู้สึกแออัดของนักท่องเที่ยวไว้ทั้งหมด 16 ปัจจัย ผลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอันดับ (ordinal regression analysis) พบว่ามีเพียง 6 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อชาติ อายุ ลักษณะการวางแผนการเดินทาง ประสบการณ์นันทนาการที่คาดหวัง จานวนนักท่องเที่ยวที่พบเห็น และความคาดหวังต่อจานวนนักท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความรู้สึกแออัดของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (Pseudo R2 = 0.481) สาหรับข้อเสนอแนะในการจัดการพื้นที่ ควรมีมาตรการกระจายนักท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่มีความหนาแน่น จากัดจานวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาประกอบกิจกรรมในแต่ละวัน หรือกระจายนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เพื่อลดความแออัดในการเข้ามาใช้พื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เกาะเหลาลาดิงที่มีระดับการรับรู้ความแออัดของนักท่องเที่ยวมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2548. รายงานการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
_____. 2561. รายงานสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปอุทยานแห่งชาติ. แหล่งที่มา: http://portal.dnp.go.th/ Content/nationalpark? Content ID=3719, 16 ธันวาคม 2560.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2562. รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทะเลและชายหาด Sea Sun Sand. กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ.
จิตรกร รามันพงษ์. 2558. การกาหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านนันทนาการในพื้นที่ลานกางเต็นท์ลานสน อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนิดาภา ไมตรีแก้ว. 2554. การจัดวางเส้นทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กรณีศึกษา: บริษัท เอ็กซ์โซติกส์เกทอะเวย์ จากัด. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ดรรชนี เอมพันธุ์. 2546. เอกสารประกอบคาบรรยายวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. (อัดสาเนา).
เดลินิวส์. 2561. “อุทยานฯเร่งจัดระเบียบนักท่องเที่ยวล้นเกาะ”. 10 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/politics/631674.
ไทยรัฐออนไลน์. 2561. “ลมจะจับ! วันเดียวอ่าวพังงานักท่องเที่ยว 9 พัน อ.ธรณ์ ห่วงธรรมชาติโทรม”. 2 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th /news/ society/1193708.
นพวัชร์ แดงสระน้อย. 2551. การศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสงสรรค์ ภูมิสถาน, นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, สมหมาย อุดมวิทิต, ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี และภูริวัจน์ เดชอุ่ม. 2559. คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ. สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
สุรเชษฎ์ เชษฐมาส และคณะ. 2538. โครงการศึกษาการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ กรณีภาคใต้.
กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสารวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. สานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. 2544. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. 2561. รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย Gen Y. มหาวิทยาลัยสยาม.
Cohen, E. 1979. A Phenomenology of tourist experiences. Sociology. 13, 179–201.
Driver, B.L, and S.R.Tocher. 1970. Toward a Behavioral Interpretation of Recreation, with
Implications for Planning. In B.L.Driver (ed.). Elements of Outdoor Recreation.
Ann Arbor, The University of Michigan Press, Michigan.
Fleishman, L., Feitelson, E., & Salomon, I. 2004. The role of cultural and demographic diversity in crowding perception: Evidence from nature reserves in Israel. Tourism Analysis, 9, 23–40. doi:10.3727/1083542041437530
Gillis, A.R.; Richard, M.A.; Hagan, J. 1989. Ethnic susceptibility to crowding: An empirical analysis. Environ. Behav.1989, 18, 683–706.
Hendee, J.C. 1974. A Multiple-Satisfaction Approach to Game Management. Wildlife Society Bulletin 2(3): 104-113.
Jin, Q.; Hu, H.; Kavan, P. 2016. Factors Influencing Perceived Crowding of Tourists and Sustainable Tourism Destination Management. Sustainability.
Jurado, E., Damian, I., & Fernández-Morales, A. 2013. Carrying capacity model applied in coastal destinations. Annals of Tourism Research, 43, 1–19. doi :10.1016 /j.annals.2013.03.005.
Kalisch, D. 2012. Relevance of crowding effects in a coastal National Park in Germany: results from a case study on Hamburger Hallig. Journal of Coastal Conservation
Vol. 16, No. 4 (December 2012), pp. 531-541.
Manning, R. 2007. Parks and Carrying Capacity: Commons without Tragedy. Washington,
D.C.: Island press.
Maslow, A. 1970. Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F.
Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and
Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott
Nielsen, J.M. and R.Endo. 1977. Where Have All the Purists Gonr?. An Empirical Examination of the Displacement Process Hypothesis in Wilderness Recreation. Western Sociological Review 8(1): 61-75
Sayan, S. & Karagüzel, O. 2010. Environmental Management (2010) 45: 1257.
Shelby, B. and T.A. Heberlein. 1986. Carrying Capacity in recreation Settings. Oregon State
University Press. U.S.A.
Yamane, T. 1973. Statistic: An Introduction Analysis. International edition. Tokyo.
Williams, D.R., Roggen, J.W., and Bunge, S. 1991. The Effect of Norm-Encounter Compatability On crowding Perception, Experience and Behavior in Recreation Settings. Journal of Leisure Research 23(2): 154-172.
World Travel & Tourism Council. 2018. Travel & Tourism Economic Impact 2018: Thailand. p.7. Retrieved from https://www.wttc.org/-/media/files/reports/economic- impact-research/countries-2018/thailand2018.pdf.