แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการยกระดับความปลอดภัยทางถนน กรณีศึกษา การเช่ารถจักรยานยนต์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
สรารัตน์ ฉายพงษ์
จิรวรรณ คล้ายลี

บทคัดย่อ

ความปลอดภัยทางถนนถือเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ค.ศ.2011-2020 (Decade of Action for Road Safety) ซึ่งประเทศไทยเองได้เห็นชอบตามกรอบปฏิญญามอสโกที่กำหนดให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี 2563 แต่ปัจจุบันกลับพบว่าไทยมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 36.2 คนต่อจำนวนประชากร 100,000 คน (The World Atlas, 2560) ซึ่งกลายเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยรถจักรยานยนต์ถือเป็นยานพาหนะที่ประสบอุบัติหตุมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ งานวิจัยนี้จึงมุ่งวิเคราะห์สาเหตุเชิงลึกของปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนในการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ด้วยการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) นักท่องเที่ยว 2) ผู้ประกอบการ 3) ภาครัฐ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าความเสี่ยงจากการอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบขับขี่ การขาดข้อมูล/ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและความปลอดภัยบนท้องถนน อันส่งผลต่อความเสี่ยงอย่างรุนแรงในการใช้รถใช้ถนนสำหรับการท่องเที่ยว ดังนั้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนจึงควรยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อันจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและมีความเข้มงวดต่อการบังคับใช้มาตรการเพื่อบรรเทาปัญหาอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน, ส านักชลประทานที่ 12. (2550). 80 พรรษามหาราช ตามรอยพระบาทยาตรา เขื่อน
เจ้าพระยา 50 ปี. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.
กรมประมง. (2552). ข้อมูลปลาน ้าจืดที่ส้าคัญ (Online). http://www.doae.go.th/pramong/ html/
fishsub47/fishlist.asp, 11 สิงหาคม 2561.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2560 (จ้าแนกตามภูมิภาคและ
จังหวัด) (Online). https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=504&filename=index, 31
สิงหาคม 2561.
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม บริษัทมติชน จ ากัด (มหาชน). (2558). ประวัติศาสตร์ชัยนาท. กรุงเทพฯ: มติชน.
เทิดชาย ช่วยบ ารุง. (2548). ธนาคารข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพื นที่อย่างยั่งยืน. มปท.
เดชา บุญค้ า. (2539). การวางผังบริเวณ Site Planning. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม. คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภวรรณ ฐานะกาญจน์. (2542). คู่มือพัฒนาและออกแบบสิ่งอ้านวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวแบบการ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2530). หนังสือที่ระลึกในงานทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดธรรมามูลวรวิหาร
อ้าเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ส านวน ปาลวัฒน์วิไชย. (2528). ประวัติพระครูวิมลคุณากร (ศุข). ชัยนาท: มปท. พิมพ์ครั้งที่ 1. สโมสรไล
อ้อนส์ชัยนาท ร่วมกับชมรมพระเครื่องชัยนาท.
Burra Charter, The. (1999). The Burra Charter: The Australia ICOMOS Charter for Places of
Cultural Significance, Retrieved from World Wide Web on 7 July 2011.
http://www.australia.icomos.org/wp-content/uploads/ BURRA_ CHARTER.pdf