การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย Cultural Tourism Management for Physically Disabled People

Main Article Content

นุชรา แสวงสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 2)เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้มีความบกพร่องทางกาย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้มีความบกพร่องทางกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย และแนวทางการสนทนากลุ่ม จากข้อมูลสรุปการศึกษาความคิดเห็นการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ผลการวิจัยพบว่า


            ผู้มีความบกพร่องทางกายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกายในระดับ มาก ในทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น และด้านจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว


            สภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในแหล่งท่องเที่ยวนั้นมีไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ไม่สามารถเข้าถึงการบริการข้อมูลได้อย่างสะดวก ธุรกิจที่พักแรมบางแห่งยังไม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวผู้มีความบกพร่องทางกายได้และไม่สามารถเข้าถึงธุรกิจร้านอาหารบางแห่งได้ ความรู้สึกกังวลต่อทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป และไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างในแหล่งท่องเที่ยวได้


การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ได้แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น และด้านจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว


คำสำคัญ:


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 2)เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้มีความบกพร่องทางกาย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้มีความบกพร่องทางกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย และแนวทางการสนทนากลุ่ม จากข้อมูลสรุปการศึกษาความคิดเห็นการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ผลการวิจัยพบว่า


            ผู้มีความบกพร่องทางกายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกายในระดับ มาก ในทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น และด้านจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว


            สภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในแหล่งท่องเที่ยวนั้นมีไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ไม่สามารถเข้าถึงการบริการข้อมูลได้อย่างสะดวก ธุรกิจที่พักแรมบางแห่งยังไม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวผู้มีความบกพร่องทางกายได้และไม่สามารถเข้าถึงธุรกิจร้านอาหารบางแห่งได้ ความรู้สึกกังวลต่อทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นและบุคคลทั่วไป และไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างในแหล่งท่องเที่ยวได้


การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางกาย ได้แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการตลาดท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น และด้านจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย