โขนวิจิตรนาฏศิลป์ชั้นสูง: กรณีศึกษาการถ่ายทอดการสอนโขนจากรุ่นสู่รุ่นของนักเรียนโขนโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการถ่ายทอดการสอนโขนจากรุ่นสู่รุ่น 2) ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเรียนโขน และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสำหรับนักเรียนโขนโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทกรณีศึกษา การเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คนและการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและการเปรียบเทียบข้อมูล แล้วนำ เสนอผลการศึกษาด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการถ่ายทอดการสอนโขนจากรุ่นสู่รุ่น โดยคุณครูผู้สอนโขน (โขนตัวพระ โขนตัวลิง โขนตัวยักษ์ และโขนตัวนาง) ซึ่งเน้นการถ่ายทอดการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบสาธิตและการเรียนแบบร่วมมือ จากนั้นส่งต่อให้พี่ประสบการณ์ถ่ายทอดความรู้ในเรื่อง ท่ารำ นาฏยศัพท์ ความมีน????้ำใจ ความสามัคคี การแต่งกาย เครื่องประดับ ระเบียบวินัยและความอดทน ให้แก่น้องประสบการณ์ โดยมีการต่อยอดองค์ความรู้และการแนะนำจากอาจารย์จากกรมศิลปากร ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ โขนวิจิตรนาฏศิลป์ชั้นสูง: โรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ 2) ปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเรียนโขน คือ การได้รับโอกาสที่ดีจากบุคคลต่าง ๆ การสืบทอดนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบต่อไป และการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง 3) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสำหรับนักเรียนโขน คือ การต่อยอดองค์ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาบุคลากรผู้รับผิดชอบกิจกรรม และการได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ