การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากทฤษฎีการรื้อสร้าง (Deconstruction) : กรณีศึกษาผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากทฤษฎีการรื้อสร้าง (Deconstruction)ของ Jacques Derrida ภายใต้แนวความคิดในการออกแบบ การนุ่งซิ่นเบี่ยงแพร ของสตรีชาวอีสานในอดีต มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลองและดำเนินการวิจัยตามกระบวนการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าไหมมัดหมี่พื้นบ้าน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้พัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับต้นทุนทางปัญญาสิ่งทอต่อไป
ผลจากการศึกษา พบว่า กระบวนการสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากทฤษฎีการรื้อสร้างจากผ้าไหมมัดหมี่พื้นเมือง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมานั้นสามารถนำ มาเป็นวิธีการพัฒนาต่อยอดสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในชุมชน และเป็นการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ผ้ามัดหมี่ให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการสื่อสารระหว่างนักออกแบบกับช่างทอพื้นบ้านให้เกิดความเข้าใจในจุดประสงค์การออกแบบโดยมีการร่วมพัฒนาระหว่างวัสดุและรูปแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไปพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นฐานความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่อไปในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads