อัตลักษณ์ทางจะเข้ เพลงมุล่ง

ผู้แต่ง

  • จารุเกียรติ แสงเย็นยิ่ง College of Music,Mahidol University

คำสำคัญ:

มุล่ง, ทางจะเข้

บทคัดย่อ

        อัตลักษณ์ทางจะเข้เพลงมุล่ง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดนตรีวิทยาและดนตรีวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำคัญเพลงมุล่ง (2) การถ่ายโยงทางวัฒนธรรมในสังคมดนตรีไทยของเพลงมุล่ง และ (3) การวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางจะเข้เพลง    มุล่ง
         ผลการศึกษาพบว่า เพลงมุล่งมีการดำเนินทำนองที่มีเอกลักษณ์แปลกจากเพลงไทยเดิมทั่วไป จึงมีความสำคัญในการพัฒนาทักษะปฏิบัติทางจะเข้ เพลงมุล่งมีความเชื่อมโยงในปรากฎการณ์พหุวัฒนธรรมกลุ่มออสโตรนีเซียน สันนิษฐานจาก                      คำว่า“Mulong” เพลงมุล่งเป็นเพลงสำเนียงชวา มีประวัติความเป็นมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยพบเพลงฉิ่งมุล่ง และ มุล่งสองชั้น  (มุโล่ง) เพลงมุล่ง ชั้นเดียว (เพลงฉิ่ง) ต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พบการบรรจุในเพลงตับและเพลงเรื่องการขยายและตัดเป็นเพลงเถา นอกจากนี้ยังนิยมทำเป็นทางเดี่ยวเริ่มแรกในระนาดเอก และจะเข้ ต่อมาจึงพบในเครื่องอื่นๆ เพลงมุล่ง ชั้นเดียว                มีสามท่อน วรรคเพลงรวม 68 วรรค ในบริบททางจะเข้อยู่ในกลุ่มเสียงหลัก (ที) และกลุ่มเสียงรอง (มี และ ลา) สังคีตลักษณ์เพลง  มุล่งเป็น {A-B-C}{A’-D-C’}{A”-E-F} พิสัยประโยคแตกต่างจากเพลงไทยเดิมทั่วไป แต่ละประโยคมักมีการบรรเลงซ้ำหรือการพัฒนาทำนองในรูปแบบต่าง ๆ พบการดำเนินทำนอง7เสียง และทำนองพิสัยขั้นคู่กว้าง
         อัตลักษณ์ทางจะเข้เพลงมุล่ง พบทางจะเข้ด้วยกัน 7 ทาง ได้แก่ ทางนางสนิทบรรเพลงการ (ละเมียด จิตตเสวี)                ทางครูประคอง ประไพรัตน์ ทางหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทางครูจ่าง แสงดาวเด่น ทางครูนิภา อภัยวงศ์ ทางครูปกรณ์ รอดช้างเผื่อน และทางครูสหรัฐ จันทร์เฉลิม โดยทางจะเข้โดยส่วนใหญ่จะสร้างพ้องไปกับเสียงลูกตกหลัก ลูกตกรอง ทิศทางทางฆ้อง และกลุ่มเสียง มีการแปรทางจะเข้ใน 3 ลักษณะคือ (1) เต็มกลุ่มเสียง (2) กึ่งมีเสียงจร และ (3) มีเสียงจร พบการใช้กลุ่มเสียงเจาะจงของผู้ประพันธ์ทาง รูปแบบการสร้างทางจะเข้ที่ละเสียงลูกตกหลัก หรือลูกตกรอง หรือ ทิศทางฆ้อง หรือ      กลุ่มเสียง จะเกิดลักษณะการดำเนินทำนองพิเศษด้วยเทคนิคกลอนเพลง สัมผัส และเทคนิคจะเข้ในรูปแบบต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2546). รายงานการวิจัยอัตลักษณ์เพลงฉิ่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จารุเกียรติ แสงเย็นยิ่ง. (2560). อัตลักษณ์ทางจะเข้เพลงมุล่ง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ดนตรี). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหิดล. ถ่ายเอกสาร
มนตรี ตราโมท และ วิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย.
มนตรี ตราโมท. (2540). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ
สุภัค มหาวรากรณ์. (2556). การแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. หน้า 88. กรุงเทพ. มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2512). ทฤษฎีและการปฏิบัติดนตรีไทย (ภาค1). กรุงเทพฯ: คุรุสภาพระสุเมรุ.
Bujang, R. H. (2005). Continuity & relevance of Malay traditional performance art in this millennium. Jurnal Pengajian
Melayu, 15, 222-223.
In Århem, K., In Sprenger, G., Ingold, T., & Howell, S. (2016). Animism in southeast Asia. Oxon: Routledge.
Keurs, P. T. (2006). Condensed reality: a study of material culture : case studies from Siassi (Papua New Guinea) and
Enggano (Indonesia). Leiden: CNWS Publications.
Mora, M. (2005). Mind, body, spirit, and soul: A Filipino epistemology of adeptness in musical performance. Asian
Music, 36(2), 81-95. doi:10.1353/amu.2005.0022
Rahman, M. A. (2016). Mek Mulong: Kedah's unique folk performance. Kemanuaiaan, 23, 61-78.
Terry Miller & Sean Williams (2008). The Garland Handbook of Southeast Asian Music. Routledge. p. 228.
Yousof, G. S. (2015). Mek mulong. In One Hundred and One Things Malay [Partridge].
Traditional Malay theatre a comprehensive work by a Malaysian scholar. PTS Publications & Distributors Sdn Bhd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28