ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านกับบทบาทการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น กรณีศึกษาการอนุรักษ์สืบทอดละครชาตรีเมืองเพชร

ผู้แต่ง

  • ระวิวรรณ วรรณวิไชย

บทคัดย่อ

งานวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบ  ลักษณะและบทบาทของการรวมตัวของละครชาตรีกลุ่มเยาวชนลูกระนาดในฐานะแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะการแสดงละครชาตรีในจังหวัดเพชรบุรี          ๒) เพื่อศึกษาละครชาตรีกลุ่มเยาวชนลูกระนาดในด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่นในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านละครชาตรีไปสู่ประชาชน  ๓) เพื่อศึกษาละครชาตรีกลุ่มเยาวชนลูกระนาดในด้านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านศิลปะการแสดงละครชาตรีในจังหวัดเพชรบุรี  

            ผลการวิจัยพบว่า 

            ๑) ด้านรูปแบบ ลักษณะ และบทบาท  มีการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจ ลักษณะกลุ่มอาสาสมัครเชิงอุดมคติ       ไม่หวังผลตอบแทบ  มุ่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่  และการพัฒนาเป็น “สื่อพื้นบ้าน”  ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ข่าวสารให้ความรู้แก่คนในชุมชน

            ๒) ด้านกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น  พบว่า การมีส่วนร่วมอนุรักษ์สืบสาน            มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนการมีส่วนร่วมในการวางแผน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 

             ๓) ด้านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้  พบว่า  มุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์  สร้างความตระหนักให้เยาวชนเห็นคุณค่าการสืบสานละครชาตรีเมืองเพชร  การพัฒนาละครชาตรีให้เป็นสื่อพื้นบ้านที่สามารถใช้สื่อสารสร้างความเปลี่ยนแปลงกับชุมชน  และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมสุขภาวะชุมชน  การถ่ายทอดโดยศิลปินละครชาตรี  ถ่ายทอดจากผู้นำกลุ่ม และการส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์จริง  

Downloads