ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจจังหวะ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อนำเสนอกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2)เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร จำนวน 18 คน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองไทย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2)แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 3)แบบสังเกตการตอบสนองต่อจังหวะดนตรี 4)แบบสังเกตการเต้นรำพื้นเมือง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้ช่วยฝึกสอน สร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ จากนั้นนำรูปแบบดังกล่าวทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที(t-test)
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1)กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1.1)กิจกรรมเพื่อพัฒนาจังหวะ อันได้แก่จังหวะตก(Steady Beat) จังหวะทำนอง(Rhythm) และค่าตัวโน้ต(Note Duration) 1.2)กิจรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองด้วยเพลงขั้นต้น 1 เพลง และขั้นกลาง 1 เพลง
2) ผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ พบว่าคะแนนรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยกลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองไทยมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ (M = 4.68 , SD = .22), (M = 4.45, SD = .39)
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ