การศึกษาลวดลายเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • จิรดา แพรใบศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ลวดลายและเทคนิคกรรมวิธีต่างๆในการสร้างลวดลาย ที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการลงพื้นที่ภาคสนามศึกษาลักษณะทางกายภาพ และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก

            ผลการวิจัย พบว่า เครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏการตกแต่งลวดลาย ได้แก่ ประเภทเครื่องใช้ คือ โอ่งสลัก และประเภทสวยงาม คือ หม้อน้ำลายวิจิตร ลักษณะของลวดลายมี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทลายธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้กลม ลายหน้าสิงห์ และประเภทลายประดิษฐ์ เช่น ลายบัวคว่ำ ลายบัวหงาย ลายพูมะยม ลายเครือเถา

            การจัดวางโครงสร้างลาย ประกอบด้วยลวดลายหลักและลวดลายประกอบ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ลวดลายที่เข้าชุดกันทั้งส่วนฝา ส่วนบ่า ส่วนเชิงฐาน ส่วนขอบ ลวดลายมีความกลมกลืนกันของเส้น รูปร่าง รูปทรง และขนาดของลวดลาย  โดยประเภทเครื่องใช้ จัดวางลวดลายหลักไว้ที่ส่วนฝา  ส่วนขอบและส่วนบ่า  จัดวางลวดลายประกอบไว้ที่ส่วนฝาและส่วนบ่า และประเภทสวยงาม จัดวางลวดลายหลักไว้ที่ส่วนฝา ส่วนบ่า  และส่วนเชิงฐาน  จัดวางลวดลายประกอบไว้ที่ส่วนยอดของฝา  ส่วนขอบและส่วนคอ  

            การจัดสัดส่วนลวดลาย พบว่า ส่วนฝาและส่วนเชิงฐานส่วนใหญ่ไม่เว้นที่ว่าง  ลวดลายส่วนตัวโอ่งหรือหม้อน้ำนิยมทำที่ขอบ บ่าและฐาน ไม่นิยมทำลวดลายเต็มพื้นที่  แต่จะเว้นพื้นที่ว่างส่วนตรงกลางของตัวโอ่งหรือหม้อน้ำ  หรือทำเป็นลายขีดแบ่งช่องเพื่อลดพื้นที่ว่าง 

            เทคนิควิธีการตกแต่งลวดลาย พบว่า  ใช้วิธีการแกะสลัก  การขีดขูดลาย  การกดลาย  การแปะติดลาย  การฉลุ  การทำเส้นลวด และการปั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads