อิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ในงานบูรณปฏิสังขรณ์วิหารของครูบาศรีวิชัย

ผู้แต่ง

  • สุวพันธุ์ จันทรวรชาต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในงานบูรณปฏิสังขรณ์ของ   ครูบาศรีวิชัยทั้งด้านสถาปัตยกรรมและงานประดับตกแต่ง เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทาง      ด้านศิลปกรรมของวิหารที่บูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัยกับวิหารล้านนาในอดีต การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงงานศิลปกรรมรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในล้านนาที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกรุงเทพฯที่เข้ามามีบทบาทในล้านนามากขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)

จากการศึกษาพบว่าวิหารล้านนาในงานบูรณปฏิสังขรณ์ของครูบาศรีวิชัยมีลักษณะการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนาและศิลปะรัตนโกสินทร์ ลักษณะเช่นนี้มีความเกี่ยวข้องกับครูบาศรีวิชัยช่วงต้องอธิกรณ์         ปี พ.ศ.2463 ที่ถูกส่งตัวมาสอบสวนที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจึงได้นำรูปแบบของศิลปะรัตนโกสินทร์ไปปรับใช้กับการบูรณะวิหารในล้านนา การผสมผสานรูปแบบดังกล่าวของครูบาศรีวิชัยอาจสื่อถึงการยอบรับอำนาจ              การปกครองของกรุงเทพฯ เช่น การประดับหน้าบันวิหารด้วยลายพระนารายณ์ทรงครุฑ, ลายช้างเอราวัณ           ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้หมายถึงกษัตริย์

Downloads