โครงการ การศึกษาและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ แอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนไทย ในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ แอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนไทย ในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
กล่าวคือเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้นำเสนอเนื้อเรื่องเกี่ยวกับด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่มีความเข้าใจง่าย นำเอาหลักการที่มีการใช้การออกแบบในลักษณะแบบอินโฟกราฟิก ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการสื่อสาร เป็นการนำข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยใช้ภาพกราฟิกที่สวยงามเป็นตัวช่วยทำให้บริโภคข้อมูลได้ง่ายและเร็วขึ้น สามารถนำมาใช้จูงใจกับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี และยังนำหลักวิธีการสร้างสรรค์งานอินโฟกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้ 1) ตีโจทย์ 2) คัดกรองเนื้อหา 3)วางแผนงานตามกรอบที่วางไว้มาใช้เป็นการลำดับเนื้อเรื่อง และนำเนื้อหาที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านเนื้อหาอีกครั้งในเกณฑ์ดังนี้ 1)เนื้อหามีความชัดเจนครบถ้วน เหมาะสมหรับเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 4.33 2)เนื้อหาสามารถเพิ่มทัศนคติเชิงบวกสำหรับเยาวชนได้ มีค่าเฉลี่ย 4.33 3)ลำดับขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหาเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.67 4)การใช้ภาษาเหมาะสมหรับเยาวชน มีค่าเฉลี่ย 4 ซึ่งโดยรวมเนื้อหามีความเหมาะสมมาก ด้านกราฟิกได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและหลักการออกแบบกราฟิก จากหนังสือตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งขึ้น หนังสือเหล่านี้เป็นหนังสือที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งหมด 5 เล่ม และได้ค้นพบว่า องค์ประกอบในการออกแบบตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นมีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้ 1)จุด 2)เส้น 3)รูปร่าง 4)สี 5)พื้นผิว และหลักการออกแบบประกอบด้วย ส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้ 1)เอกภาพ 2)ความสมดุล 3)ความกลมกลืน 4)จังหวะ 5)สัดส่วน 6)จุดเด่น 7)ตัวอักษร 8)น้ำหนัก ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เป็นเกณฑ์เพื่อเอามาวิเคราะห์ตามรูปแบบอินโฟกราฟิกที่เยาวชนเลือก ซึ่งในอนาคตจะได้นำเนื้อเรื่องและหลักการออกแบบ มาทำการออกแบบและวัดผลความพึงพอใจกับเยาวชนต่อไป
คำสำคัญ : แอนิเมชั่น 2 มิติ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน เยาวชน
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ