การศึกษารูปแบบการพัฒนาการแสดงเพลงทรงเครื่องของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ THE STUDY OF THE DEVELOPMENT IN PERFORMANCE PATTERNS OF KWANJIT SRIPRACHAN ’ PHLENG SONG KROENG “FOLK PLAY”
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประวัติที่มา รูปแบบ ขนบจารีต วิธีการแสดงและองค์ประกอบของการแสดงเพลงทรงเครื่อง 2)วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการแสดงเพลงทรงเครื่อง ของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ โดยมีขอบเขตในการศึกษารูปแบบการพัฒนาการแสดงเพลงทรงเครื่องของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ และรูปแบบการแสดงคณะนักแสดงเพลงทรงเครื่องภาคกลาง ได้แก่ คณะแม่เหม อินทร์สวาท จังหวัดสุพรรณบุรี คณะจำรัสศิลป์อินทาราม คณะนารีเฉลิมเนตร จังหวัดชัยนาท และครูจำรัส อยู่สุข จังหวัดสิงห์บุรี ตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบว่าการแสดงเพลงทรงเครื่องเป็นการแสดงที่เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะการแสดงเป็นเรื่องราวใช้เพลงร้องพื้นบ้านคือเพลงฉ่อยเป็นหลัก และบางท้องที่นำศิลปะการแสดงลิเกของท้องถิ่นมาผสมผสาน มีเอกลักษณ์การแสดงและการสืบทอด ตลอดจนขนบธรรมเนียม พิธีกรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันด้วยองค์ประกอบของการแสดงคือ ผู้แสดงมีทั้งชายและหญิง เรื่องที่แสดงนำมาจากวรรณคดีไทย ใช้การขับร้องเพลงฉ่อย เพลงไทยและเพลงภาษาตามเชื้อชาติของเรื่องราวที่แสดง มีท่ารำประกอบคือการรำตามบทร้อง เจรจาและการรำเพลงหน้าพาทย์ การแต่งกายยืนเครื่องเป็นหลัก ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดงรวมทั้งใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงตามเรื่องราว มีลำดับในการแสดง 2 ลักษณะคือ การเล่นเพลงโต้ตอบก่อนการแสดงเพลงทรงเครื่องและการจับเข้าเรื่องการแสดงเพลงทรงเครื่องโดยไม่มีการเล่นเพลงโต้ตอบ การศึกษารูปแบบการพัฒนาการแสดงเพลงทรงเครื่องของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ พบว่าได้นำรูปแบบการแสดงที่ได้รับการถ่ายทอดจากแม่บัวผัน จันทร์ศรี มาปรับเปลี่ยนเป็นบางกรณี เพื่อให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในปัจจุบัน ดังนี้ 1)ไม่มีการเล่นเพลงโต้ตอบก่อนการแสดง 2)มีลำดับขั้นตอนการฝึกหัดการแสดงอย่างเป็นแบบแผน 3)กระบวนท่ารำมีความงดงามมากขึ้น 4)มีบทการแสดงชัดเจนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร 5)เพิ่มเพลงร้องในการแสดงและคิดคำร้องรับเพลงฉ่อยให้มีความอ่อนหวานให้เป็นเอกลักษณ์ของเพลงทรงเครื่อง 6)มีเครื่องแต่งกายงดงามสัมพันธ์กับเรื่องที่แสดง 7)มีการใช้ระบบฉากเวทีแสงสีเสียงที่ทันสมัย นอกจากนี้พบว่าแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นบุคคลที่มีจุดเด่นและคุณลักษณะเฉพาะ คือ มีพรสวรรค์ ปฏิภาณกวี ความเป็นศิลปินร่วมสมัย มีความเป็นประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณของความเป็นครู เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรมและอารมณ์สนุกสนาน จึงทำให้ท่านสามารถพัฒนารูปแบบการแสดงเพลงทรงเครื่องได้อย่างน่าสนใจมีความเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน
คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนา เพลงทรงเครื่อง แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เพลงโต้ตอบ
Abstract
The Objective of this thesis was : 1) to study and analyze the history , style , custom , how to show and elements of Phleng Song kroeng performance. 2) to analyze the style of Phleng Song kroeng performance development of Mae Kwanjit Sriprajan; a National Artist. This study focuses on the style of Phleng Song kroeng performance development of Mae Kwanjit Sriprajan; a national artist and other Phleng Song kroeng troupes in the central part namely; Mae Hem Insawath band Suphanburi Province , Jamrad Silp-intharam band , Nareechalermnetr Chainat Province and Kru Jamrad Yusuk band Singburi Province , The data examined by the experts. The findings were that the origin of Phleng Song kroeng performance recorded date in the reign of King Rama V. The performance was stories which used main Phleng Choy; folk song. Some communities mixed theirs performing art ; local Likay . With the unique characteristics of performing , transmissions include customs, rites and resemble beliefs to consist of performing in which male performers and female performers. The Thai literature was displayed through singing Choy song, Thai song and ethnic song in which stories . The dance postures accompanied by singing , dialogue and Na Phat music. The dresses used main YunKruang .Pi Phat orchestras playing accompanied with performing including props correspond to the story. Two sequences of presentation ; With verse singing in response before Phleng Songkroeng performance and performance non verse singing in response . The study style of Phleng Song kroeng performance development of Mae Kwanjit Sriprajan found that adapted display format of Mae Buaphan Chansri to change according to present society as follows: 1) Before performing non verse singing in response. 2) The sequences a pattern of practice. 3) Process of gestures has been more gorgeous 4)The performing were been in writing. 5) Added to songs and euphemistic words in response Choy song to identity of Phleng Song kroeng. 6)The costume correspond to the story. 7) Modern Systems of setting stage light and sound. In addition to Mae Kwanjit Sriprajan is unique characteristic in special talent witty poet ,contemporary artist, democrat, spiritual teacher, eager learner,moral and joyful. So that she can develop the style of Phleng Songkroeng which to be interesting and suitable for the change situation today.
Keywords: Development in performance, Phleng Song kroeng, Mae Kwanjit Sriprajan, Phleng Tho thob.
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ