ระบบประสาทการรับรู้ความรู้สึกของข้อต่อในนาฏศิลปินไทย PROPRIOCEPTIVE SENSE IN THAI CLASSICAL DANCERS

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ กฤตยาเกียรณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 หน้าที่หลักของระบบประสาทรับความรู้สึกของข้อต่อมีความสำคัญต่อการทำงานในรยางค์ขา ซึ่งระบบนี้มีการทำงานประสานกันระหว่างระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และโครงสร้างโดยรอบเข้าด้วยกัน จากการศึกษาทางกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายเพื่อการรักษาได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการฝึกฝน หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆนั้นมีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในขณะที่โครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ทำงานร่วมไปกับชีวกลศาสตร์ของร่างกายส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ได้มีงานวิจัยพบว่าการฝึกเต้น (บัลเลย์ และแจ๊ส) ส่งผลในทางที่ดีสำหรับการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และมีการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการฝึกฝนเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากการรำไทยนั้นเป็นการแสดงออกทางศิลปะที่สวยงามที่สมควรที่จะสืบทอดต่อให้กับชนรุ่นหลัง ทั้งนี้ประเทศไทยยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงวิทยาศาสตร์สุขภาพอีกมากที่จะสนับสนุนถึงผลดีของการรำไทยต่อสุขภาพร่างกายของผู้ที่ได้รับการฝึกฝน ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์จากการฝึกรำไทยต่อระบบประสาทรับความรู้สึกของข้อต่อ โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยที่สอดคล้องมาอธิบาย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยทางด้านนี้ยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมาก เพื่อเป็นหลักฐานในการสนับสนุนประโยชน์ของการรำไทยในงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ

คำสำคัญ : รำไทย นาฏศิลป์ ออกกำลังกาย กายภาพบำบัด

Abstract

 Proprioception (or joint position sense) is important for lower extremity function, which involved the association among musculoskeletal system, nervous system and surrounding structures has increased. Since several studies of physical therapy and exercise rehabilitation have been proved that movement training plays several roles in facilitating optimal neuromuscular function when hip, knee and ankle anatomy and biomechanics interact to produce efficient movement. Moreover, studies in dance movement (Ballet dance or Jazz dance) also presented in positive effect in body control and progression of movement in practitioners. Thai Classical Dance is a marvelous performance art and need to be conserved for our next generation. The information in health science and basic science to support the valuable of Thai Classical Dance is amazingly rare. This review article was focusing on the proprioceptive and Thai Classical Dance, which is the integrated information from basic science and research works to explain the possibility of change in training. However, we still need more evidence to support the beneficial effect of Thai Classical Dance in health science.

Keywords : Dance, Movement, Exercise, Physical Therapy

Downloads