การค้นหาและถ่ายทอดแรงบันดาลใจในงานออกแบบแฟชั่น IN SEARCH OF INSPIRATION AND HOW TO CONVEY TO FASHION DESIGN
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายถึงการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบเครื่องแต่งกาย เริ่มต้นตั้งแต่การค้นหาแรงบันดาลใจในการออกแบบ วิธีการเข้าถึงความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิดแบบ Convergent และ Divergent Thinking รวมถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อผลิตผลงานสำเร็จที่สามารถสื่อสารแนวคิดในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำศิลปนิพนธ์โครงการออกแบบเครื่องแต่งกายโดยได้รับแรงบันดาลใจจากกรุงเทพมหานครและศิลปะตัดปะ (Collage) มาเป็นกรณีศึกษา โครงการออกแบบฯดังกล่าวเป็นโครงการที่ได้รับรางวัล Creative Conceptual Award 2010 เมื่อพิจารณาจากผลงานในโครงการฯ จะเห็นถึงวิธีการในการถ่ายทอดแรงบันดาลใจไปสู่การออกแบบแฟชั่นในเชิงปฏิบัติ เช่น การเชื่อมโยงแรงบันดาลใจไปสู่แนวคิดหลักในการออกแบบ การสร้างโครงเสื้อจากสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยใช้แนวคิดของศิลปะแบบตัดปะเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ เข้าด้วยกัน การใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของเนื้อผ้าในการตัดเย็บ ทำให้การถ่ายทอดแรงบันดาลใจลงบนเสื้อผ้าปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การผลิตผลงานสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม
คำสำคัญ: แรงบันดาลใจ , การออกแบบเครื่องแต่งกาย, การออกแบบแฟชั่น, กระบวนการคิดสร้างสรรค์
Abstract
This article is intended to describe the process of creating a collection of clothing. Starting from how to find design inspirations and access the creative process with a convergent and divergent thinking, including a creative intelligence ability to develop such ideas to finish works. Bangkok Collage, gained Creative Conceptual Award 2010, is selected as a case study to demonstrate how to convey these inspirations to fashion designs in practice. For example, how to join inspirations and develop them to the main idea. Each clothing construction and its silhouette are formed by selected locations in Bangkok; these are linked by the arts of collage. The uses of fabric-like paper also help to communicate this collection clearly and concretely.
Keywords: Inspiration, Fashion Design, Convergent Thinking, Divergent Thinking
Downloads
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ